ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา

สารบัญ

ความหมายของสิ่งแวดล้อมศึกษา

ความเป็นมาของสิ่งแวดล้อมศึกษา

หลักการของสิ่งแวดล้อมศึกษา

เป้าหมายและวัตถประสงค์ของสิ่งแวดล้อมศึกษา

แนวทางในการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษา

การประยุกต์ใช้สิ่งแวดล้อมศึกษากับวิชาชีพอื่นๆ

จริยธรรมสิ่งแวดล้อม

ความตื่นตัวทางสิ่งแวดล้อม


ความหมายของสิ่งแวดล้อมศึกษา

“สิ่งแวดล้อมศึกษา” แปลมาจากคำว่า “Environmental Education” ซึ่งได้มีการให้ความหมายของสิ่งแวดล้อมศึกษาไว้ มากมาย แต่ความหมายหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางได้มาจากการประชุมที่เมืองทบิลิซี่ (Tbilisi) ประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ. 2520 ซึ่งสรุปความหมายของคำว่า “สิ่งแวดล้อมศึกษา” ไว้ว่า

“สิ่งแวดล้อมศึกษา” คือ กระบวนการที่มุ่งสร้างให้ประชากรโลกมีความสำนึกและห่วงใยใน ปัญหา       สิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ มีความรู้ เจตคติ ทักษะ ความตั้งใจจริง และความมุ่งมั่นที่จะหาทางแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่และป้องกันปัญหาใหม่ ทั้งด้วยตนเอง และด้วยความร่วมมือกับผู้อื่น”

จากคำนิยามข้างต้น ทำให้หลายคนมองว่า สิ่งแวดล้อมศึกษา เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทั้ง“ศาสตร์” และ “ศิลป์” เพราะ

สิ่งแวดล้อมศึกษาไม่ใช่เป็น เพียงแค่การใช้ความรู้หรือให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราเท่านั้น แต่จะครอบคลุมถึงการใช้ เทคนิค วิธีการ หรือกระบวนการที่จะพัฒนาคนให้เกิดจิตสำนึก และห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น มี เจตคติที่ดีมีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

รับจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา

ความเป็นมาของสิ่งแวดล้อมศึกษา

เส้นทางเวลาของสิ่งแวดล้อมศึกษามีความเป็นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2515 และมีพัฒนาการต่อเนื่องตั้งแต่การนิยามความหมาย การรวบรวมทฤษฎี  การ วิจัยและการนำมาประยุกต์ใช้ มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • พ.ศ. 2515 – องค์การสหประชาชาติได้ริเริ่มให้มีการประชุมเรื่อง มนุษย์นิเวศวิทยา ณ กรุงสต๊อกโฮม (Stockholm) ประเทศ สวีเดน ซึ่งมีสาเหตุจากการที่ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในการประชุมครั้งนั้นได้เน้นประเด็น บทบาทและความต้องการสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
  • พ.ศ. 2518 – มีการจัดตั้งหน่วยงานของสหประชาชาติที่มีหน้าที่รับผดชอบทางด้านสิ่งแวด ล้อมที่เรียกว่า โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (United Nation Environmental Program – UNEP)
  • พ.ศ. 2520 – มีการประชุมที่ทบิลิซี (Tbilisi) ประเทศสหภาพโซเวียต ซึ่งเน้นประเด็น บทบาทและมุ่งจัดลำดับงานของ UNESCO ที่เกี่ยวข้องกับงานสิ่งแวดล้อมขึ้น นับตั้งแต่ทฤษฎีและหลักการ กระบวนการพัฒนาสร้างระบบการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษาแก่บุคคลทุก ระบบชั้น เพื่อกำหนดเป็นกรอบในการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาแก่ทุกประเทศ
  • พ.ศ. 2521 – ในประเทศไทย ได้มีการบรรจุหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาไว้ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ทั้ง ของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • พ.ศ. 2532 – รัฐบาลไทยได้รับการสนับ สนุนจากสหรัฐอเมริกาในกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ Management and Administration of Natural Resource and Environment for Sustainable Development (MANRES) ส่วนหนึ่งของโครงการนี้ได้สนับ สนุนให้มีการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยให้ความช่วยเหลือกับกระทรวง ศึกษาธิการทำให้เกิดกิจกรรมและโครงการต่างๆ ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบอย่างต่อเนื่องจนถึง ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2533 – ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาทั่วไปในระดับ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของประชาชนให้มีความตระหนักและอุทิศตนในการร่วมมือแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเพียงพอได้
  • พ.ศ. 2535 – มีการจัดประชุมขึ้นที่เมืองริโอเดจาเนโร ปะเทศบราซิล ได้กล่าวถึงสิ่งแวดล้อม ศึกษาและการพัฒนาการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทากกายภาพกับ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยให้บูรณาการอยู่ในการ เรียนการสอนทุกวิชา ทั้งในระบบและนอกระบบ รวมถึงการสื่อสารทุกรูปแบบ
  • พ.ศ. 2540 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ทำแผนหลักและแผนปฏิบัติ การสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับประเทศ พ.ศ. 2540-2544 ซึ่งมีนโยบายด้านการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการ เรียนการสอนและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

รับจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา

หลักการของสิ่งแวดล้อมศึกษา

หลักการสิ่งแวด ล้อมศึกษา คือ หลักการอันเป็นแนวทางของสิ่งแวดล้อมศึกษาที่ได้กำหนดไว้ในปฏิญญาสากล เบลเกรด  มี ดังนี้

  1. พิจารณาสิ่งแวดล้อมทั้งมวล มองทุกอย่างเป็นองค์รวม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านธรรมชาติและสิ่ง ที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและสุนทรียภาพ
  2. ควรจะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดชีพ เช่น การศึกษาตลอดชีวิต
  3. ควรจะมีลักษณะที่ ผนวกเนื้อหา กิจกรรม หลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สหพันธ์วิทยาการ หรือเชิงบูรณาการ
  4. ควรจะเน้นการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้แม
  5. ควรมอง ประเด็นภาพรวมของโลก ในขณะที่เน้นความแตกต่างของแต่ละภูมิภาคด้วย
  6. ควรเน้นสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมอดีต ปัจจุบันและอนาคต
  7. ควรจะมองการพัฒนาและการเติบโตของการพัฒนาทั้งหมดที่เกิดขึ้น และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย
  8. ควรส่งเสริมให้เห็นถึงคุณค่าและความจำเป็น ในการที่จะร่วมกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับ โลก

เป็นที่น่าสังเกตว่า การมองอย่างองค์รวมจะถูกใช้เป็นแกนกลางในกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา นั่น บ่งบอกได้ว่าสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกระบวนการที่ต้องมองให้ครบและรอบด้าน มองอย่างเชื่อมโยงทั้งในภาพใหญ่ หรือภาพย่อย

รับจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา

เป้าหมายและวัตถประสงค์ของสิ่งแวดล้อมศึกษา

เป้าหมายและวัตถุ ประสงค์ของสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ การพัฒนามนุษย์ให้เกิดการลงมือกระทำเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ทั้งการปรับ ปรุงแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิม และการป้องกันปัญหาใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการกระทำที่เกิดขึ้นมาจาก ความสมัครใจไม่ใช่การบังคับ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการใน การพัฒนาจากการ “ไม่รู้” เป็น “รู้” จาก “รู้”  เป็น “ รู้สึก” จาก “รู้สึก” เป็น “คิดจะทำ” และจาก “คิดจะทำ” ไปสู่ “การลงมือกระทำ” จนเกิดเป็น พฤติกรรม

หลายครั้งกระบวนการทางด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษาไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการลงมือกระทำที่เกิดขึ้นเป็นเพียง กิจกรรม ไม่ใช่ พฤติกรรม  จึงไม่ เกิดผลใดๆต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมนั้น ผู้ดำเนิน การเน้นวัตถุประสงค์ ทั้ง 5 ข้อของสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นสำคัญ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก เจตคติ ทักษะและการมีส่วนร่วม

ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพื้นฐานการทำงานของธรรมชาติ ระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม  สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ รวมทั้งแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา

ความตระหนัก   ถึงปัญหาและผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงความรู้สึกรักและหวงแหน มีจิตสำนึก และเห็นถึงคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เจตคติ และค่านิยม ที่ดีต่อสิ่ง แวดล้อม ความตั้งใจจริงมุ่งมั่นที่จะปกป้องรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพดี แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ และป้องกันปัญหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ทักษะ  ที่ควรให้มีการพัฒนา ได้แก่ ทักษะ ในการสังเกต การชี้บ่งปัญหา การเก็บข้อมูล การตรวจสอบ การวางแผน การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา รวมถึง ทักษะในการตัดสินใจซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมของ สังคมไทยในปัจจุบัน

การมีส่วนร่วม  ทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคม จะช่วยให้มนุษย์มี ประสบการณ์ในการนำความรู้และทักษะที่ได้รับมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสามารถทำงานร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รับจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา

แนวทางในการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษา

สิ่งแวดล้อมศึกษา คือ “เครื่อง มือ” ที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยกระบวนการทางการศึกษา ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราควรจะจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาให้ น่าจะเป็นกลุ่มนักเรียนซึ่งอยู่ในระบบ โรงเรียนเท่านั้น แต่หากลองพิจารณาถึงเป้าหมายและหลักการของสิ่งแวดล้อมศึกษาแล้วจะพบว่า เป้าหมายที่แท้ จริงของสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ  การพัฒนาคุณภาพของ “ประชากรโลก” โดยใช้กระบวนการ สิ่งแวดล้อมศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เริ่มตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียนต่อเนื่องไปทุกระดับ ทั้งใน และนอกระบบโรงเรียน ดังนั้นสิ่งแวดล้อมศึกษาที่ดีจึงไม่ควรจำกัดกลุ่มเป้าหมายอยู่เฉพาะกลุ่มนักเรียนในระบบ โรงเรียนเท่านั้น แต่ควรจะจัดให้กับประชาชนทุกคนตามความเหมาะสม ซึ่งต้องมีการกำหนดประเด็นหรือเนื้อหา สาระให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพราะในแต่ละบุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับทั้งอายุ ระดับความสนใจ ความพร้อมของบุคคล อาชีพ ประสบการณ์ สภาพแวดล้อม รวม ถึงการศึกษา ฯลฯ รวมทั้งเลือกใช้วิธีการหรือกระบวนการให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายตามปัจจัยที่แตกต่างกัน ข้างต้น

รับจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา

การประยุกต์ใช้สิ่งแวดล้อมศึกษากับวิชาชีพอื่นๆ

ในฐานะที่สิ่งแวดล้อม ศึกษามีคุณลักษณะเป็นสหวิทยาการ ดังนั้นจึงสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้กับสาขาอาชีพต่างๆได้ ยกตัวอย่าง เช่น

โรงเรียน  โรงเรียนถือว่าเป็นสถานที่บ่มเพาะบุคคลในด้านต่างๆ รวมไปถึงด้านสิ่งแวด ล้อม    และโรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นจุดแรกที่ได้มีการนำสิ่งแวดล้อมศึกษามาใช้ประโยชน์ด้วย และมีการบรรจุให้หลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาสู่ระบบการศึกษาไทยตั้งแต่ พ.ศ .2551 รวมถึงมีการจัดหลักสูตร เชิงบูรณาการและการจัดโครงการด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนหลากหลายโครงการ เช่น ธนาคารขยะ การ ประหยัดพลังงานในโรงเรียน เป็นต้น

หน่วยงานราชการ  ได้มีการนำกระบวนการสิ่ง แวดล้อมศึกษามาใช้ในการสร้างจิตสำนึก ให้บุคลากรในหน่วยงานได้ตระหนักถึง การใช้ทรัพยากรในหน่วย งานอย่างรู้คุณค่าและรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยในการ ประหยัดงบประมาณให้กับหน่วยงาน และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชนทั่วไปอีกด้วย

ธุรกิจ เอกชน บริษัท ห้างร้าน  ใช้กระบวนการทางด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาไปใช้ในด้านการจัดการความเรียบร้อย ความสะอาดในหน่วยงาน เช่น มีการจัดทำโครงการ 5 ส. รวมไปถึงใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมในแนวทางการ ลดต้นทุนการผลิต โดยการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งการประหยัดพลังงานในหน่วยงาน  นอกจากจะได้ผลประโยชน์ในด้านลดต้นทุนแล้วยังได้ประโยชน์ในด้านภาพลักษณ์องค์กรที่ดีในด้านสิ่งแวดล้อม อีกด้วย

นอกจากสาขาวิชาชีพข้างต้นแล้ว ในวงการวิชาชีพอื่นๆก็มีการนำกระบวนการทางสิ่งแวด ล้อมศึกษาไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและตัวของหน่วยงานเอง เพราะประโยชน์ที่เกิดขึ้นจาก การนำสิ่งแวดล้อมศึกษาไปใช้เกิดขึ้นได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

รับจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา

จริยธรรมสิ่งแวดล้อม

จริยธรรมสิ่งแวดล้อม (environmental ethics) เดิม มนุษย์ไม่เคยประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่ในปัจจุบัน มนุษย์ประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง อันเนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติเหลือน้อยลง การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทางที่ผิด เช่น การทดลอง ระเบิดปรมาณู การทำลายป่าไม้ ฯลฯ ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง และเสียสมดุล ส่งผลกระทบต่อชีวิตของ มนุษย์เอง ปัจจุบันสังคมไทยมีปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องนำจริยธรรมสิ่งแวดล้อมมาศึกษาให้ครบทุกด้าน โดยการบูรณาการกับทุกกิจกรรม เช่น การรู้จักประมาณในการบริโภคหรือทางสายกลางในการใช้สอย การ กตัญญูกตเวทีรู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็น ต้น

หลักการของจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม ตามที่นักนิเวศวิทยา Miller ได้เสนอในโลกทรรศน์แนว “Sustainable-Earth Worldview “ นั้น เราอาจพบได้ในคำสอนของศาสนาที่สำคัญ ๆ ของโลก หลักการ นี้ไม่ใช่ของใหม่ หากแต่เป็นสัจธรรมนิรันดรซึ่งมีมานานแล้ว บางคนอาจจะบอกว่าเป็นอุดมคติมากเกินไป เป็น เรื่องที่ปฎิบัติได้ยาก ในความเป็นจจริง จริยธรรมต้องการจะตักเตือนใจเราว่าวิถีทางที่กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ ผิด เป็นหนทางที่นำไปสู่การล่มสลายของสิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงในโลกธรรม ชาติ

กลุ่มคนที่มีโลกทรรศน์ “Sustainable-Earth Worldview “ เชื่อว่า เราควรสร้างสรรค์ สังคมใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก เมตตาธรรม ความร่วมมือกัน ความยุติธรรม และความห่วงใยต่อเพื่อน มนุษย์และสรรพสัตว์ในโลกธรรมชาติ สังคมใหม่แบบนี้จะเป็นสังคมที่ยั่งยืน ผู้คนมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ ส่วน สังคมอุตสาหกรรมนิยมที่เรากำลังพบเห็นอยู่ในขณะนี้นั้นเป็นสังคมที่เน้นความเห็นแก่ตัว การแข่งขัน ความก้าว ร้าว การแสวงหาวัตถุและความเจริญสูงสุด และการขูดรีดธรรมชาติสังคมแบบนี้มีแต่จะทำลายล้างสิ่งแวดล้อม และชีวิตจิตใจของมนุษย์ โลกทรรศน์แนว”Sustainable-Earth Worldview” ต้องการให้มี “การปฎิ วัติสังคม” ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงทางจิตสำนึกนั่นเอง

จริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมใหม่ ชี้ให้เรา เห็นว่า มนุษย์เรามี ” ความต้องการ” 2 แบบ ความต้องการที่ไม่จำเป็น กับความต้องการที่แท้จริง ระบบอุตสาหกรรมนิยมมุ่งเน้นแต่เรื่องกระตุ้นความต้องการที่ไม่จำเป็นซึ่งใช้ทรัพยากรมาก สิ่งที่ถูกต้องคือ เรา สนองความต้องการแบบที่แท้จริงเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า วิถีชีวิตแบบใหม่จะต้องมีลักษณะเรียบง่าย ปฎิเส ธบริโภคนิยม ไม่ลุ่มหลงในวัตถุ และใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย

Miller กล่าวว่า การที่เราจะมองโลกทรรศน์แนว “Sustainable-Earth worldview” ได้นั้น เราต้องผ่านการยกระดับ “ความตื่นตัวทางสิ่งแวดล้อม” (environmental awareness) 4 ระดับ ด้วยกัน คือ

ความตื่นตัวทางสิ่งแวดล้อม

  1. เราเริ่มมองเห็นปรากฏการณ์และรับรู้ปัญหา เราเริ่มรู้สึกว่า กำลังมีบาง สิ่งบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ปัญหามลภาวะ เรายังมองไม่เป็นระบบ เราคิดแต่เพียงว่า เมื่อมีปัญหามลภาวะ เราก็ต้อง เข้าไปแก้ไข โดยการควบคุมหรือชำระล้าง
  2. เราเริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่เชื่อม โยงเกี่ยวพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เช่น เรารู้ว่าปัญหามลภาวะ ความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม และการหมดสิ้น ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับปัญหาประชากร การพัฒนาอุตสาหกรรม ลัทธิบริโภคนิยม และ ความยากจนในสังคม การตื่นตัวมากขึ้นในระดับนี้เรียกร้องให้เราแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบเช่นกัน แต่เรายังมอง ไม่เห็นว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจการเมืองอย่างไร
  3. การตื่นตัวใน ระดับที่ 3 จะทำให้เรามองความเชื่อมโยงทางสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบมากขึ้น และมีการแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการจัดการทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น มองหาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ ที่เรียกกันว่า “การ พัฒนาแบบยั่งยืน” ในขณะเดียวกัน ก็พัฒนาวิธีการจัดการทางสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะสลับซับซ้อนและมี ประสิทธิภาพมากขึ้น

การตื่นตัวทั้ง 3 ระดับ ยังคงมีลักษณะที่ให้ความสำคัญสูงสุดแก่มนุษย์ (human- centered)  เราแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อความสุขสมบูรณ์ของมนุษย์ วิธีการแบบนี้อยู่ตรง กันข้ามกับ life-centered โลกทรรศน์กระแสหลักยังคงเป็นโลกทรรศน์ที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรฐกิจ มนุษย์ยัง คงมีฐานะที่สำคัญกว่าธรรมชาติ และอยู่เหนือธรรมชาติ

  1. การตื่นตัวในระดับที่ 4 คือ การก้าวข้าม พ้นทั้ง 3 ระดับเข้าไปสู่โลกทรรศแนว “Sustainable-Earth worldview” นั่นเอง การตื่นตัวระดับ สูงสุดไม่ใช่อยู่ที่ว่า ” ความอยู่รอดของมนุษย์” หากแต่เป็นความอยุ่รอดของธรรมชาติ โลกทรรศน์ “โลกธรรมชาติยั่งยืน” ไม่อาจได้มาโดยการอ่านหนังสือ หรือนั่งคิดนั่งฝัน จริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมจะ เกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเรามีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยการเห็น โดยการรู้สึก สัมผัส โดยการเข้าใจ โดยความรัก และห่วงใย ที่สำคัญคือเกิดความเชื่อศรัทธาขึ้นมา โลกทรรศน์ใหม่คือ วิถีการคิดแบบใหม่และวิถีแห่งความรู้สึก แบบใหม่อันเกิดจากการฟังเสียงของธรรมชาติ ปรัชญาเชนที่บ่งว่า “เรามองภูเขา ภูเขามองเรา ภูเขาและเรา เป็นหนึ่งเดียว” สะท้อนให้เราเห็นถึงภาพแบบใหม่ของประชาคมแห่งโลกธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนหลักการของ ความรัก ความศรัทธา ความจริงใจ และความร่วมมือกัน

download คู่มือจัดค่ายพลังงานและสิ่งแวดล้อม