กระเทียม Garlic

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum L.

วงศ์    Alliaceae

ชื่อท้องถิ่นอื่น กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระเทียมเป็นไม้ล้มลุกและ สูง 30 – 60 ซม. มีกลิ่นแรง มีหัวใต้ดิน ลักษณะกลมแป้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 – 4 ซม. มีแผ่นเยื่อสีขาวหรือสีม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 3 – 4 ชั้น ซึ่งลอกออกได้ แต่ละหัวมี 6 – 10 กลีบ กลีบเกิดจากตาซอกใบของใบอ่อน ลำต้นลดรูปลงไปมาก ใบเดี่ยว (Simple leaf) ขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับแบนเป็นแถบแคบ กว้าง 0.5 – 2.5 ซม. ยาว 30 – 60 ซม. ปลายแหลมแบบ Acute ขอบเรียบและพับทบเป็นสันตลอดความยาวของใบ โคนแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงหุ้มรอบใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อย ๆ จางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ ส่วนที่หุ้มหัวอยู่มีสีขาวหรือขาวอมเขียว ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม (Umbel) ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็ก ๆ จำนวนมากอยู่ปะปนกับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ยาว 7.5 – 10 ซม. ลักษณะบาง ใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ แต่เมื่อช่อดอกบานใบประดับจะเปิดอ้าออกและห้อยลงรองรับช่อดอกไว้ ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ยาว 40 – 60 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ แยกจากกันหรือติดกันที่โคน รูปใบหอกปลายแหลม ยาวประมาณ 4 มม. สีขาวหรือขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดที่โคนกลีบรวม อับเรณูและก้านเกสรเพศเมียยื่นขึ้นมาสูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของดอก รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 – 2 เม็ด ผลเล็กเป็นกระเปาะสั้น ๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ดมีขนาดเล็ก สีดำ

คุณค่าทางโภชนาการ

พลังงานประมาณ 150 กิโลแคลอรี่ น้ำ 60กรัม เส้นใย 1 กรัม โปรตีน 5 กรัม แคลเซียม 5มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 15 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5 IU

เมนูเด็ด

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. ฤทธิ์ลดอาการแน่นจุกเสียด ในประเทศอินเดียได้มีการทดลองให้สารสกัดกระเทียมด้วย

บิวธานอลกับคนไข้ 30 คน ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ พบว่าระงับอาการปวดท้องและขับลมได้ เมื่อให้คนไข้ 29 รายรับประทานกระเทียมชนิดเม็ดในขนาด 0.64 กรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารกลางวันและเย็น เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าสามารถขับลมและลดอาการจุกเสียด และคลื่นไส้หลังอาหารได้ดีทั้งอาการจุกเสียดแบบธรรมดา และการจุกเสียดจากอาการทางระบบประสาท  จากการถ่ายภาพรังสี (X-ray) พบว่ากระเทียมสามารถเพิ่มการบีบตัวเพื่อไล่อาหารของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ทำให้เกิดการขับลม ซึ่งผู้วิจัยเรียกสารออกฤทธิ์เหล่านี้ว่า gastroenteric allechalcone

  1. ฤทธิ์ขับน้ำดี เมื่อรับประทานกระเทียมเข้าไป จะช่วยเพิ่มน้ำย่อยและน้ำดี
  2. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 95 มีฤทธิ์ลดการบีบตัว

ของลำไส้กระต่าย น้ำสกัดกระเทียม ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร กระเทียมในอัตราส่วน 1:5 ขนาด 0.2 มิลลิลิตร สามารถยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบลำไส้เล็กของหนูตะเภาที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย acetylcholine, histamine และ barium chloride ได้ โดยความสามารถในการยับยั้งการหดตัวจะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับขนาดของน้ำสกัดกระเทียมที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลลดการหดตัวแบบอัตโนมัติ (spontaneous contraction) ของกระเพาะกบส่วน pyrolus อย่างไรก็ตามสาร (E)-ajoene และ (Z)-ajoene ที่พบในกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase ซึ่งมีหน้าที่ทำลาย acetylcholine เป็นผลให้ acetylcholine คงอยู่ที่ปลายประสาทได้นานขึ้น จึงอาจมีผลเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ แต่ไม่พบฤทธิ์ยับยั้งนี้เมื่อใช้สารสกัดด้วยเมทานอลจากหัว

  1. ฤทธิ์ลดการอักเสบ การรับประทานกระเทียมชนิดแคปซูลจะช่วยลดการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้อรู

มาติคส์ (rheumatic) จำนวน 30 คน อาจเนื่องจากสารสกัดกระเทียมมีฤทธิ์เพิ่มระดับไซโตไคน์ที่ต้านการอักเสบคือ interleukin-10 (IL-10) ในการทดสอบโดยใช้เลือดของผู้ป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel syndrome) พบว่าที่ขนาด 0.1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จะทำให้การสร้าง interleukin-12 (IL-12) ของ monocyte ลดลง และในขนาด 10 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จะทำให้การสร้าง IL-10 ของ monocyte เพิ่มขึ้น แต่ลดการสร้าง TNF-a, IL-12, IL-6 และ IL-8 ของ monocyte และลดการสร้าง interferon-gamma (IFN-g), IL-2 และ TNF-a จาก T-helper cell (Th1 cell)

 

ที่มา : http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/allium.html

http://www.thaichef.in.th/mobile/article_herbdetail.php?aid=3