ผักกวางตุ้ง Mock pakchoi

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica rapa L.

วงศ์ : Cruciferae

ชื่อท้องถิ่นอื่น ผักกาดเขียวกวางตุ้ง (ทั่วไป)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพืชผักสมุนไพร เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก อยู่ในตระกูลกะหล่ำและผักกาด มีก้านใบยาว ออกเรียงสลับโดยรอบๆ ปกคลุมที่ฐานลำต้น มีก้านใบหนาและยาวอวบน้ำ มีสีเขียวอ่อน หรือสีขาวตามสายพันธุ์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะทรงกลมรี ใบกว้างใหญ่ ผิวใบบางเรียบ ใบมีสีเขียว ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่ยาว มีแขนงก้านย่อยมาก มีดอกย่อยออกที่ปลายยอด ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลืองสด นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู สามารถรับประทานสดได้ มีรสชาติหวานกรอบ แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว ในประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์

คุณค่าทางโภชนาการ

พลังงาน 17.00 แคลอรี โปรตีน 0.70 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.10 กรัม วิตามิน B1 0.7 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.13 มิลลิกรัม แคลเซียม 102.00 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 46.00 มิลลิกรัม เหล็ก 2.60 มิลลิกรัม วิตามิน C 53.00 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.80 มิลลิกรัม

เมนูเด็ด

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  3. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  4. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ผักกวางตุ้งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  6. ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อม ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง
  7. ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก
  8. เชื่อว่ามีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม
  9. ช่วยแก้อาการเป็นตะคริว สำหรับใครที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ผักกวางตุ้งช่วยคุณได้ เพราะเป็นผักที่มีแคลเซียมสูง
  10. การรับประทานผักกวางตุ้งเป็นประจำจะไปทำให้ฟีโรโมน (Pheromone) หลั่งออกมา ซึ่งจะทำให้กลิ่นตัวหอม
  11. เป็นผักที่มีเส้นใยมากและมีไขมันน้อย ทำให้อิ่มท้อง รับประทานมากแค่ไหนก็ไม่ทำให้อ้วน
  12. นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ต้มจับฉ่าย แกงจืด ผัดผักกวางตุ้ง ฯลฯ

 

ที่มา : https://www.thai-thaifood.com/th

https://medthai.com