ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia pennata (L.) Willd.

วงศ์ FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE

ชื่อท้องถิ่นอื่น ผักหละ (ภาคเหนือ), อม (ภาคใต้), ผักขา (ภาคอีสาน อุดรธานี), พูซูเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน), โพซุยโดะ (กะเหรี่ยง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนามแหลม ส่วนลักษณะของใบชะอมเป็นใบประกอบสีเขียวขนาดเล็ก มีก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ มีลักษณะคล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุน ใบย่อยมีขนาดเล็กออกตรงข้ามกัน คล้ายรูปรีประมาณ 13-28 คู่ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบย่อยจะหุบในเวลาเย็น และแผ่ออกเพื่อรับแสงในช่วงกลางวัน ส่วนดอกชะอม มีขนาดเล็กออกตามซอกใบ มีสีขาวถึงขาวนวล

คุณค่าทางโภชนาการ

พลังงาน 57 กิโลแคลอรี เส้นใยอาหาร 5.7 กรัม ธาตุแคลเซียม 58 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 80

มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU วิตามินบี 1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

 

 

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีวิตามินเอสูง
  2. ยอดชะอมช่วยลดความร้อนในร่างกายได้
  3. ผักรสมันอย่างชะอมมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ
  4. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
  5. รากชะอมนำมาฝนกินช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้
  6. มีส่วนช่วยบำรุงเส้นเอ็น
  7. ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

 

ที่มา : https://medthai.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A1/

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A1