ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว  Yard Long Bean

ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna unguiculata subsp. Sesquipedalis (L.) Verdc.

วงศ์  Fabaceae หรือ Leguminosae

ชื่อท้องถิ่นอื่น ถั่วลิ้นนาค (สิบสองปันนา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยพัน เป็นพืชฤดูเดียว ไม่มีมือจับ การเลื้อยของเถามีทิศทางทวนเข็ม นาฬิกา ใบ มีลักษณะเป็น 3 แฉก ดอก อาจเกิดดอกเดียวหรือเป็นช่อ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง ฝักจะมีความยาว 30 – 75 ซม. มีเมล็ดรูปไตอยู่ภายในแต่ละเมล็ดยาวประมาณ 8 – 12 มิลลิเมตร เมล็ดอ่อนมีสีเขียวเมล็ดแก่อาจมีสีขาว ดำ หรือน้ำตาลแดง หรือสีแดงสลับขาวขึ้นอยู่ กับชนิดพันธุ์

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วฝักยาวต่อ 100 กรัม พลังงาน 47 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 8.35 กรัมไขมัน 0.4 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม 5% วิตามินบี 1 0.107 มิลลิกรัม 9% วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม 9% วิตามินบี 3 0.41 มิลลิกรัม 3% วิตามินบี 5 0.55 มิลลิกรัม 11% วิตามินบี 6 0.024 มิลลิกรัม 2% วิตามินบี 9 62 ไมโครกรัม 16% วิตามินซี 18.8 มิลลิกรัม 23% ธาตุแคลเซียม 50 มิลลิกรัม 5% ธาตุเหล็ก 0.47 มิลลิกรัม 4% ธาตุแมกนีเซียม 44 มิลลิกรัม 12% ธาตุแมงกานีส 0.205 มิลลิกรัม 10% ธาตุฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม 8% ธาตุโพแทสเซียม 240 มิลลิกรัม 5% ธาตุสังกะสี 0.37 มิลลิกรัม 4% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

เมนูเด็ด

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
  2. ฟอสฟอรัสมีส่วนช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
  3. วิตามินซีช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคหวัด
  4. ถั่วฝักยาวมีประโยชน์ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  5. ช่วยแก้กระหาย ให้รสชุ่มชื่น ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดนำมาคั้นสดหรือต้มกินกับน้ำ (เมล็ด)
  6. ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดนำมาคั้นสดหรือต้มกินกับน้ำ (เมล็ด)
  7. สำหรับเด็กที่เบื่ออาหารเนื่องจากกระเพาะอาหารทำงานไม่ดี ให้ใช้รากสดนำมาผสมกับรากเถา

ตดหมาตดหมู แล้วนำมาตุ๋นกินกับเนื้อวัว จะช่วยแก้อาการเบื่ออาหารได้ (ราก)

  1. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้อง เรอเปรี้ยว ด้วยการเคี้ยวฝักสดกิน (ฝัก)
  2. ใช้ใบสดประมาณ 60-100 กรัมนำมาต้มกับน้ำ ใช้รักษาโรคหนองในและอาการปัสสาวะเป็น

หนอง (ใบ)

  1. ใช้เป็นยาบำรุงม้ามและไต ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดนำมาคั้นสดหรือต้มกินกับน้ำ หรือจะใช้

รากนำมาตุ๋นกินเนื้อก็ได้เช่นกัน (ฝัก, ราก, เมล็ด)