ผักกาดหอม Lettuce

ชื่อวิทยาศาสตร์  Lactuca sativa L.

วงค์ (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

ชื่อท้องถิ่น ผักกาดยี (ภาคเหนือ), สลัด สลัดผัก ผักสลัด (ภาคกลาง), ผักกาดปี, พังฉาย พังฉ่าย พังฉ้าย (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และยุโรป เป็นพืช ฤดูเดียว มีลำต้นอวบสั้น ช่วงข้อถี่ ใบจะเจริญจากข้อเป็นกลุ่ม อาจห่อหัวหรือไม่ห่อหัว ลักษณะรูปร่วงและ สีแตกต่างกันไปทั้งนี้ขึ้น อยู่กับสายพันธุ์ บางพันธุ์อาจมีใบหนาแข็ง บางพันธุ์ใบอ่อน นิ่ม มีสีเขียวอ่อนจน ถึงสีเขียวเข้ม สีน้ำตาลปนแดง สีแดง และสีน้ำตาล เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ผักกาดแก้ว ใบจะห่อหัวซ้อนกันเป็นหัวกลม ใบบาง กรอบ ขอบใบหยักสีเขียวอ่อน หรือผักกาดหอมใบแดง เป็นลักษณะพันธุ์ไม่ห่อหัว ใบหยักเป็นคลื่น ขอบใบหยัก มีสีเขียวปนแดง ผักกาดหอมมีระบบรากแก้วที่สามารถเจริญลง ไปในดิน อย่างรวดเร็ว ช่อดอกเป็นแบบ panicle สูง 2-4 ฟุต ประกอบด้วยดอก 10-25 ดอกต่อช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีเหลือง หรือขาวปนเหลือง ดอกจะบานช่วงเช้า และเป็นระยะสั้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม (ชนิดใบสีเขียว) ต่อ 100 กรัม พลังงาน 15 กิโลแคลอรี

คาร์โบไฮเดรต 2.87 กรัม น้ำ 94.98 กรัม น้ำตาล 0.78 กรัมรูปผักกาดหอม เส้นใย 1.3 กรัม ไขมัน 0.15 กรัม โปรตีน 1.36 กรัม วิตามินเอ 7,405 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.07 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.375 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 38 ไมโครกรัม วิตามินซี 9.2 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.22 มิลลิกรัม วิตามินเค 126.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 36 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.86 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก: USDA Nutrient database)

 

เมนูเด็ด

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. ผักกาดหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้ (ใบ)
  2. น้ำคั้นจากทั้งต้นนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ทั้งต้น)
  3. ช่วยในการนอนหลับ ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย แก้อารมณ์เสียง่าย โดย ดร.ดันแคน (แพทย์ยุคกลางชาวอังกฤษ) ระบุว่าในใบหรือก้านของผักกาดหอมจะมีสารรสขมที่มีชื่อว่า “แลกทูคาเรียม” (Lactucarium) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการง่วงนอน ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย การรับประทานผักกาดหอมแบบสด ๆ ก่อนนอนหรือรับประทานเป็นอาหารมื้อเย็น จึงช่วยทำให้เรานอนหลับได้สบายยิ่งขึ้นนั่นเอง
  4. ผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบโดยส่วนมาก จึงเป็นผักที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  5. ผักกาดหอมอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือดหรือฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย หรือมีสมาธิสั้น การเรียนรู้ลดลง
  6. น้ำคั้นจากใบช่วยแก้ไข้ได้ (ใบ)
  7. น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาแก้ไอได้เป็นอย่างดี (ใบ)
  8. เมล็ดผักกาดหอมตากแห้งประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ถ้าหากใช้ต้นให้ใช้เพียงครึ่งต้นรับประทานเพื่อช่วยขับเสมหะและแก้อาการไอ และไม่ควรใช้มากเกินไป (เมล็ด, ต้น)
  9. น้ำคั้นจากใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (น้ำคั้นจากใบ)
  10. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)

 

ที่มา : https://medthai.com