ภาวะโลกร้อน

      แหล่งพลังงานเกือบทั้งหมดของระบบภูมิอากาศของโลกมาจากรังสีดวงอาทิตย์ โดยเริ่มต้นจาการที่รังสีจากดวงอาทิตย์ส่องมายังโลก เมื่อมากระทบกับเมฆ ไอน้ำ ฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศ ประมาณร้อยละ 30 ของรังสีดังกล่าวจะถูกสะท้อนกลับไป เหลือเพียงร้อยละ 70 ที่สามารถส่งต่อมายังโลกมนุษย์ รังสีที่ส่องมายังโลกมนุษย์นี้ จะถูกดูดซับไว้โดยพื้นดิน และพื้นน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ทำให้อุณหภูมิที่พื้นผิวและอากาศโดยรอบสูงขึ้นและเอื้อต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ถูกดูดซับไว้นี้ไม่ได้คงอยู่ในสภาพแวดล้อมของโลกตลอดไป หิน อากาศ และน้ำทะเลที่ร้อนขึ้นจะแผ่รังสีความร้อนหรือรังสีอินฟราเรดออกมาทำให้ผิวโลกเย็นลง โดยรังสีความร้อนส่วนหนึ่งจะเล็ดลอดออกสู่อวกาศ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะถูกดูดกลืนโดย ไอน้ำ เมฆ และกลุ่มก๊าซในชั้นบรรยากาศ โดยกลุ่มก๊าซที่สามารถดูดกลืนและเปล่งรังสีความร้อนที่แผ่จากพื้นโลกได้ดี ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน โอโซน ไนตรัสออกไซด์ และซีเอฟซี ซึ่งรวมเรียกว่า “ก๊าซเรือนกระจก” หรือ Greenhouse Gases เนื่องจากก๊าซเหล่านี้กักเก็บความร้อนไว้ โดยความร้อนที่ถูกดูดซับไว้นี้ จะถูกแผ่รังสีกลับมายังผิวโลกอีกครั้ง โดยรวมแล้วการดูดซับความร้อนของก๊าซต่างๆ ที่ชั้นบรรยากาศเป็นผลดีต่อโลกของเรา ถ้าไม่มีก๊าซเรือนกระจกหรือกลุ่มเมฆในชั้นบรรยากาศห่อหุ้มโลกไว้ อุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเย็นกว่านี้มากอยู่ที่ 18 องศาเซลเซียส แทนที่จะมีอุณหภูมิที่กำลังสบายที่ 15 องศาเซลเซียสอย่างทุกวันนี้….อ่านต่อ(.pdf)