การทำแผนปฏิบัติการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในหน่วยงาน

ว่ากันวาก่อนจะลงมือทำอะไรก็ต้องมีแผนก่อน ทำงานอย่างไม่มีแผนเหมือนกับทำงานแบบคนหลับตาทำ ไร้ทิศทาง ไร้เป้าหายและความชัดเจน การทำแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานก็เช่นเดียวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อมีการทำแผนปฏิบัติการ เรามาเรียนรู้วิธีทำแผนปฏิบัติการ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมกันเถอะ

ทำไมต้องมีแผนปฏิบัติการ ???

• ช่วยลดภาระในการตัดสินใจว่าจะทำอะไร เมื่อไหร่โดยใคร เพราะมีการกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้างในช่วงเวลาหนึ่งๆ
•สามารถเลือกกิจกรรมที่จะทำตามลำดับความสำคัญและเหมาะสมกับสถานการณ์ ทำให้การจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง มีผลผลิตที่เสริมแรงซึ่งกันและกันหรือต่อยอดจากผลผลิตของกิจกรรมที่ทำก่่อนหน้า
•การมีแผนปฏิบัติการท าให้ ลดความเสี่ยงในการควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนงาน/โครงการ

องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการ

1. ชื่อแผนปฏิบัติการ
2. ความเป็นมา
3. วัตถุประสงค์
4. เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
5. กลยุทธ์ในการด าเนินงาน
6. กิจกรรม (รายละเอียด)
7. แผนการดำเนินงาน
8. ทรัพยากรที่ต้องใช้
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดแผน
10.การติดตามประเมินผล

1. ชื่อแผนปฏิบัติการ
– แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ………(ชื่อหน่วยงาน)
– แผนปฏิบัติการ ……(ชื่อหน่วยงาน) อนุรักษ์พลังงาน
– แผนปฏิบัติการ…(ชื่อหน่วยงาน) ร่วมใจลดใช้พลังงาน…..% (บรรจุเป้าหมายลงในชื่อแผนให้ชัดเจน)
– ฯลฯ

2.ความเป็นมา
– การเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ผ่านมา
– กิจกรรมที่เป็นต้นเหตุของปัญหา
– ความสูญเสียและเสียหาย
– แนวโน้มปัญหา และการขยายวงกว้างออกไปถ้าไม่มีการแก้ไข
– ความจำเป็นที่จะต้องมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแผนปฏิบัติการ
– ความคาดหวังเมื่อมีการด าเนินการตามแผนปฏิบัติการ

3.วัตถุประสงค์
• เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานเกิดการเรียนรู้ทางด้านการอนุรักษ์พลังงาน
•เพื่อส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการอนุรักษ์พลังงาน
• เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของบุคลากร
• เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของโรงเรียน

4.เป้าหมายและตัวชี้วัด
หน่วยงาน…มีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในทุกระบบของโรงเรียน โดยภายในปี 2561
– มีการใช้ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 2 (เทียบกับปี 2560) หรือการ
ใช้ไฟฟ้าต่อคน (พนักงาน) ลดลงร้อยละ 1
– มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 350 หน่วยต่อคนต่อปี
– มีการใช้น้ ามันเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 5 (เทียบกับปี 2560)
– มีการใช้น้ า ลดลงร้อยละ 5 (เทียบกับปี 2560)
– ปริมาณขยะ ลดลงร้อยละ 5 (เทียบกับปี 2560)

5. แนวคิดในการดำเนินงาน
– ให้ความสำคัญที่การระดมความคิดของทุกฝ่าย และความเป็นเจ้าของร่วมในการทำแผนปฏิบัติการ
– ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามแผน
– การเปลี่ยนแปลงเรื่องใกล้ตัวที่ทำได้ทุกคนและทำได้ทันที
– ให้ความสำคัญที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ระเบียบวิธีช่วงเวลา ลำดับการทำงาน ซึ่งไม่ใช้งบประมาณ หรือใช้น้อย
– ประกาศเกียรติคุณบุคลากร นักเรียน พร้อมทั้งมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง

6. โครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการ
ประกอบด้วย
• กิจกรรมเผยแพร่และรณรงค์สร้างจิตส านึกในวันสำคัญๆต่าง ๆ ของหน่วยงาน วันคุ้มครองโลก วันสิ่งแวดล้อมไทย
• กิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์
• การออกมาตรการต่างๆ
• เปลี่ยนอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดไฟ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ

7. แผนการดำเนินงาน
จะทำกิจกรรมอะไร เมื่อไร ใครเป็นคนรับผิดชอบ ???

10. การติดตามประเมินผลกิจกรรม
• เพื่อให้ทราบความก้าวหน้า และทิศทางการดำเนินงานของแผนงานเปรียบเทียบกับเป้าหมาย และกรอบเวลาของแผน
• เพื่อทราบประสิทธิผลของการด าเนินงาน ความถี่ในการประเมินผลจะช่วยทำให้มีการปรับแผนการทำงานมากขึ้นโอกาสของการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จก็จะเพิ่มขึ้นด้วยการประเมินผลอาจทำได้หลายวิธี แต่ควรเลือกการประเมินผลที่มีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด


หน่วยงานใดสนใจนำพนักงานหรือคณะทำงานเข้าฝึกอบรมค่ายเกี่ยวกับการทำแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสามารถติดต่อสอบถามฝ่ายประสานงานได้ที่เบอร์ 096 – 6421093 หรือ 02-408-1600 และเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ ค่ายฝึกอบรมด้านการทำแผนอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในหน่วยงาน