ผักชี Coriander

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coriandrum sativum L.

วงศ์ APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE

ชื่อท้องถิ่นอื่น ผักชีไทย (ความหมายที่เข้าใจโดยทั่วไป), ผักหอม (นครพนม), ยำแย้ (กระบี่), ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าแก่จัดจะออกเสียเขียวอมน้ำตาล ใบ ลักษณะการออกของใบจะเรียงคล้ายขนนก แต่อยู่ในรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น เพราะส่วนมากที่ปลายต้นใบจะเป็นเส้นฝอย มีสีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อ ตรงส่วนยอดของต้น ดอกนั้นมีขนาดเล็ก มีอยู่ 5 กลีบสีขาวหรือชมพูอ่อนๆ ผล จะติดผลในฤดูหนาว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโตประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ตรงปลายผลจะแยกออกเป็น 2 แฉก ตาวผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้น

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของผักชีสดต่อ 100 กรัม พลังงาน 23 กิโลแคลอรี

รากผักชี คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม เส้นใย 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม (42%) เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม (36%) ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.067 มิลลิกรัม 6% วิตามินบี 2 0.162 มิลลิกรัม 14%วิตามินบี 3 1.114 มิลลิกรัม 7% วิตามินบี 5 0.57 มิลลิกรัม 11%

เมล็ด หรือ ผลของผักชี วิตามินบี 6 0.149 มิลลิกรัม 11% วิตามินบี 9 62 ไมโครกรัม 16% วิตามินบี 12 0 ไมโครกรัม 0% วิตามินซี 27 มิลลิกรัม 33% วิตามินอี 2.5 มิลลิกรัม 17% วิตามินเค 310 ไมโครกรัม 295% ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม 7% ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม 14% ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม 7% ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม 20% ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม 7% ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม 11% ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม 3% ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม 5% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

เมนูเด็ด

 

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ทำการทดลองโดยให้ผงเมล็ดผักชีลา นำมากระจายตัวในน้ำ ในขนาด 250 และ 500 mg/kg แก่หนูแรท สายพันธุ์วิสตาร์ โดยให้สายอาหารไปยังกระเพาะอาหารหนู เป็นเวลา 30 นาที ก่อนจะได้รับสารที่กระตุ้นให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ 25% NaCl, 0.2M NaOH, 80% ethanol และยาต้านการอักเสบ indomethacin (30mg/kg) ผลยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร พบว่าผงผักชีลา ขนาด 250 mg/kg ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เหนี่ยวนำด้วย NaCl ได้ ผลผักชีลาขนาด 500 mg/kg ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เหนี่ยวนำด้วย NaCl และ ethanol ได้ ผลต่อการปกป้องเยื่อเมือกที่กระเพาะอาหาร ที่เหนี่ยวนำให้เยื่อเมือกในกระเพาะอาหารลดลง ด้วย 80% ethanol พบว่าการให้ผงผักชีลาในขนาด 250 และ 500 mg/kg แก่หนูแรท ก่อนให้เอทานอล ทำให้ระดับของเยื่อเมือกกลับมาสู่ภาวะปกติได้  แต่ผงผักชีลาไม่สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เหนี่ยวนำด้วย indomethacin (Al-Mofleh, et al., 2006)

ฤทธิ์คลายความวิตกกังวล การศึกษาฤทธิ์คลายกังวล ของสารสกัดน้ำจากเมล็ดผักชีลา ในหนูถีบจักรเพศผู้ ด้วยวิธี elevated plus-maze ซึ่งเป็นวิธีประเมินฤทธิ์คลายกังวลโดยทดสอบความกลัว และอาการวิตกกังวลของหนู เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อันตราย โดยถ้าสารมีฤทธิ์คลายกังวล หนูจะเข้าไปใน open arm หรือใช้เวลาใน open arm นานขึ้นภายในเวลา 5 นาที การทดสอบใช้สารสกัดในขนาด 10, 25, 50,100 mg/kg โดยการฉีดเข้าช่องท้องของหนู พบว่าที่ขนาด 100 mg/kg มีฤทธิ์ในการคลายกังวล โดยทำให้หนูใช้เวลาอยู่ใน  open arm นานขึ้น ดังนั้นสารสกัดน้ำจากเมล็ดผักชีลา จึงมีศักยภาพในการนำไปพัฒนายาคลายความวิตกกังวล และอาจมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับได้ด้วย (Emamghoreishi, et al., 2005)

ที่มา : https://medthai.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=155