ชื่อไทย                         พุดน้ำบุศย์ (Golden Gardenia)

ชื่อท้องถิ่น                   ตะบือโก บาแยมาเดาะ (มาเล นราธวิาส) พุดน้ำบุศย์ (ภาคกลาง) รักนา       รัตนา (ภาคใต้) ระนอ ระไน (ยะลา)

ชื่อวิทยาศาสตร์          Gardenia carinata Wall. ex Roxb.

ชื่อวงศ์                         RUBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร แตกกิ่งแขนง ลำต้นเรียวรูปกรวย ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม ค่อนข้างหนาทึบ

ลักษณะใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบสีเขียวมน

ลักษณะดอก ดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและชนิดกลีบดอกซ้อน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร

ลักษณะผล ทั้งผลสั้นและยาว รูปไข่ถึงรูปแกมรูปขอบขนาน เมื่อแก่สีเหลืองส้ม เมล็ดมาก ผลแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก

ระยะการออกดอกติดผล

การติดดอก ตลอดทั้งปี

เขตการกระจายพันธุ์  

มาเลเซีย โดยพืชในจีนัสนี้เป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของแอฟริกา เอเชียใต้ ออสเตรเลีย และพื้นที่ในแถบมหาสมุทร ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้น และต้องการแสงแดดตลอดทั้งวัน

ประเภทการใช้ประโยชน์       

พืชประดับนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งข้อมูล : สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ – กรมป่าไม้ / อุทยานหลวงราชพฤกษ์