ชื่อไทย                         มะยม (Star gooseberry)

ชื่อท้องถิ่น                   หมักยม หมากยม (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์          Phyllanthus acidus (L.) Skeels

ชื่อวงศ์                         PHYLLANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ลำต้นเปลาตรงและแตกกิ่งก้านสาขาทึบบริเวณยอด กิ่งก้านเปราะหักง่าย เปลือกต้นขรุขระมีเท่าปนน้ำตาล

ลักษณะใบ ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียวบนกิ่งที่ยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ดูคล้ายใบประกอบ แต่ละกิ่งมี 20-30 คู่ ใบรูปไข่ รูไข่แกมรูปหอก รูปขอบขนาน หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 1.3-3.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-7.5 เซนติเมตร ฐานใบมน ปลาบใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ

ลักษณะดอก ออกเป็นช่อ ตามกิ่ง ช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตร ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้เกิดที่ปลายช่อ กลีบเลี้ยง 6 กลีบ แยกกันไม่มีกลีบดอก มีเกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงสีชมพูแดง 6 กลีบ ฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว

ลักษณะผล รูปร่างกลมแบน มี 6-8 ร่อง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง

ลักษระเมล็ด  เมล็ดภายในรูปร่างกลมและคอนข้างแข็งมีสีน้ำตาลอ่อนและมีจำนวน  1 เมล็ดผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก

ระยะการออกดอกติดผล       

ตลอดทั้งปี

เขตกระจายพันธุ์       

กัมพูชา อินเดีย มาเลเซีย พม่า เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย อเมริกา พบที่ความสูง            200-2,300 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง

การใช้ประโยชน์        

ยอด : ยอดอ่อนรับประทานเป็นผัก

ราก : แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง

ใบ : แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว หัด และอีสุกอีใส

ผล : รักษาโรคมะเร็ง ช่วยชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยดับร้อนและปรับสมดุล ดับพิษเสมหะ ยาระบาย ยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงโลหิต

ผลแก่ : มีรสเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้ นำมาดอง หรือแช่อิ่ม

แหล่งข้อมูล : อุทยานหลวงราชพฤกษ์