ชื่อไทย                     เล็บครุฑ

ชื่อท้องถิ่น                 ครุฑทอดมัน(กทม.)/ ครุฑเท้าเต่า(กลาง)/ ครุฑใบเทศ ครุฑผักชี(กทม.)

ชื่อสามัญ                  Ming Aralia / Parsley Panax

ชื่อวิทยาศาสตร์          Polyscias fruticosa (L.) Harms

ชื่อวงศ์                         ARALIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร ลำต้นส่วนยอดสีเขียวอมน้ำตาลเกือบดำ มีกระสีน้ำตาลอ่อนตามกิ่งมีรูอากาศเห็นได้ชัด ลำต้นแตกแขนงได้ดี

ลักษณะใบ ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยขอบเว้าลึก ขอบใบจักฟันเลื่อยปลายแหลม ก้านใบส่วนที่ติดกับลำต้นเป็นกาบ ใบเมื่อขยี้ดมจะให้กลิ่นน้ำมันหอมระเหย

ลักษณะดอก ออกช่อดอกแยกแขนง มีแกนกลางช่อยาว 60 เซนติเมตร ขนาดเล็ก ช่อดอกย่อยออกเป็นช่อซี่ร่ม กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน

ลักษณะผล ผลรูปเกือบกลม มีเนื้อผล

ระยะการออกดอกติดผล

ตลอดทั้งปี

เขตการกระจายพันธุ์  

แถบเอเชียเขตร้อน เล็บครุฑฝอยเป็นพรรณไม้ที่ชอบแสงแดดรำไร จะเจริญเติบโตได้ดีในดิน อุดมสมบูรณ์ร่วนซุยหรือดินปนทรายที่มีการระบายน้ำดี ต้องการความชื้นและ น้ำในปริมาณปานกลาง

การใช้ประโยชน์        

ใบและยอดอ่อน รับประทานกับลาบ ยอดใบชุบแป้งทอดกับกุ้ง ใบชุบแป้งทอดรับประทานกับน้ำพริก ยอดรับประทานกับลาบ

รากเล็บครุฑ ใช้บรรเทาอาการเครียด อ่อนเพลีย ไอ ในใบและรากมีสารซาโปนิน โอลีน และพานาไซนอลซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

แหล่งข้อมูล : อุทยานหลวงราชพฤกษ์