กาหลงแดง/ชงโคแดง

 

ชื่อไทย                         ชงโคแดง

ชื่อท้องถิ่น                 กาหลงแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์          Bauhinia galpinii N.E.Br.

ชื่อวงศ์                         FABACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มรอเลื้อย สูงได้ถึง 3 เมตร

ลักษณะใบ หูใบมี 1 คู่ รูปลิ่มแคบขนาดเล็ก ใบรูปไข่กว้าง กว้าง 2-7 เซนติเมตร ยาว 1.0-5.5 เซนติเมตร ปลายแฉกไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ปลายแฉกมนกลม แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นโคนใบข้างละ 3 เส้น ก้านใบยาว 0.8-1.5 เซนติเมตร

ลักษณะดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตรงข้ามใบ ก้านช่อหนา ยาว 0.5-1 เซนติเมตร มี 2-10 ดอก ก้านดอกยาว 2-3.5 เซนติเมตร  กลีบเลี้ยงพับงอกลับ ดอกสีแดงเข้ม ขนาดไม่เท่ากัน กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาว 3-4.5 เซนติเมตร  ก้านกลีบรูปเส้นด้ายยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ 3 อัน ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน มี 2-3 อัน รังไข่มีขนละเอียด

ลักษณะผล ฝักรูปขอบขนาน ยาว 8-10  เซนติเมตร  แบน ปลายเป็นจะงอย มี 3-5 เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก 

พฤศจิกายน-มีนาคม

เขตดารกระจายพันธุ์  

ซิมบับเว, แซมเบีย, โมซัมบิก, แอฟริกาใต้ และสวาซิแลนด์

การใช้ประโยชน์

พืชประดับ – ปลูกประดับสถานที่

แหล่งข้อมูล: อุทยานหลวงราชพฤกษ์