ชะพลู Wildbetal leafbush

ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum Roxb.

วงศ์ PIPERACEAE

ชื่อท้องถิ่น ผักพลูนก พลูลิง ปูลิง ปูลิงนก ผักปูนา (ภาคเหนือ), ผักแค ผักอีเลิด ผักนางเลิด (ภาคอีสาน), ช้าพลู (ภาคกลาง), นมวา (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงประมาณ 30-50 ซม. สีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปม แตกกอออกเป็นพุ่ม เติบโตได้ดีในพื้นที่ดินชุ่ม ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวแก่ ก้านใบยาว 1-3 ซม. ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจ ใบกว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ผิวมันออกมัน แทงใบออก 2 ใบตรงข้ามกัน มีเส้นใบประมาณ 7 เส้น แทงออกจากฐานใบ ดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะออกสีเขียว รูปทรงกระบอก แทงดอกบริเวณปลายยอด และช่อใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกเป็นดอกแยกเพศ ผลเจริญบนช่อดอก มีลักษณะเป็นผลสีเขียว ผิวมัน มีลักษณะกลมเล็กฝังตัวในช่อดอกหลายเมล็ด มักออกดอกมากในฤดูฝน

คุณค่าทางโภชนาการ

สารอาหารสำคัญที่พบ ได้แก่ แคลเซียม และสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งมีในปริมาณสูง และน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil) ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Lignans และ Alkaloids และสารอื่น คุณค่าทางอาหาร (ในน้ำหนักแห้ง 100 กรัม) พลังงาน 101.00 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 5.40 กรัม ไขมัน 2.50 กรัมคาร์โบไฮเดรต 14.20 กรัม แคลเซียม 298.00 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30.00 มิลลิกรัม เหล็ก 4.63 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.23 กรัม ไนอาซีน 3.40 กรัม วิตามินซี 22.00 กรัม เบต้า แคโรทีน 414.45 ไมโครกรัม ใยอาหาร 6.90 กรัม

 

เมนูเด็ด

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. 1. ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
  2. 2. ลดกลิ่นปาก ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  3. 3. ลดระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการโรคเบาหวาน
  4. 4. ปริมาณโปรตีนสูง มีคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้เจริญอาหาร
  5. 5. ลดการหดตัวของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อยของร่างกาย
  6. 6. ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
  7. 7. Peungvicha และคณะ ได้ศึกษาฤทธิ์ของชะพลูในการลดน้ำตาลในเลือดหนักตัวของหนูขาว โดยการทดลองให้สารสกัดน้ำชะพลู ความเข้มข้น 0.125 และ 0.25 กรัม/กิโลกรัมน้ำ พบว่า ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดของหนูทดลองลดลง แต่ความเข้มข้นที่ศึกษาไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้ แต่เมื่อให้ในขนาด 0.125 กรัมต่อกิโลกรัม ติดต่อนาน 7 วัน พบว่า ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดของหนูขาวที่เป็นโรคเบาหวานลดลงได้
  8. 8. Choochote และคณะ รายงานว่าสารสกัดจากชะพลู มีพิษต่อตัวเต็มวัยของยุงลาย Stegomyia aegypti (Diptera: Culicidae) และผลจากการทดสอบโดยการหยดสารสกัดลงบนอกปล้องที่ 2 ของยุงลายเพศเมีย พบว่า สารสกัดจากชะพลู มีค่า LD50 ต่อยุงลายเพศเมีย 1 ตัว เท่ากับ 0.26 มิลลิกรัม
  9. 9. มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษาฤทธิ์การลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากใบชะพลู โดยทำการทดลองกับหนูที่มีภาวะเหนี่ยวนำทำให้เป็นเบาหวาน ผลการทดลองพบว่า เมื่อให้สารสกัดจากใบชะพลูแก่หนูนาน 7 วัน มีผลทำให้น้ำตาลในเลือดของหนูลดลง

 

ที่มา : https://puechkaset.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%9E

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0