ชื่อไทย                         รวงผึ้ง (Yellow star)

ชื่อท้องถิ่น                           น้ำผึ้ง (กรุงเทพฯ) สายน้ำผึ้งและดอกน้ำผึ้ง (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์            Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.

ชื่อวงศ์                    MALVACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร มีขนกระจุกสั้นรูปดาวสีน้ำตาลแดงตามกิ่ง

ลักษณะใบ  ก้านใบ เส้นแขนงใบด้านล่าง ช่อดอก และผล หูใบรูปใบหอก ยาว 3.5-8 มิลลิเมตร ร่วงเร็ว ใบเรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 0.5-4 เซนติเมตร ยาว 1-11 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนมนหรือกลม แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดหนาแน่น เส้นโคนใบ 1 คู่ เส้นแขนงใบข้างละ 2-5 เส้น เส้นใบย่อยแบบขั้นบันได เส้นกลางใบบุ๋มด้านบน ก้านใบหนา ยาว 2-7 มิลลิเมตร

ลักษณะดอก ช่อดอกออกสั้น ๆ ตามซอกใบ ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ใบประดับรูปเส้นด้าย ติดที่ข้อก้านดอก ร่วงเร็ว ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร แฉกลึกมากกว่ากึ่งหนึ่ง บานออก ขอบและปลายกลีบมีขน จานฐานดอกกลม ติดที่โคนกลีบเลี้ยง มีขนหนาแน่น เกสรเพศผู้มีประมาณ 25 อัน โคนเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5 อัน เรียงสลับกับกลีบเลี้ยง ก้านชูอับเรณูรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 9 มิลลิเมตร มี 5 คาร์เพลล์ มีขนหนาแน่น แต่ละคาร์เพลล์มีออวุล 2 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียยาว 1.5-3 มิลลิเมตร ยอดเกสรจัก 5 พู โค้งงอกลับ ติดทน

ลักษณะผล ผลรูปไข่กลับเกือบกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร แตกเป็น 5 ส่วน เมล็ดกลม ๆ ขนาดประมาณ 6 มิลลิเมตร

ระยะการออกดอกติดผล

การติดดอก กรกฎาคม-สิงหาคม