ชื่อไทย                     มะนาว (Common lime / Lime)

ชื่อท้องถิ่น                   ส้มมะนาว มะลิว (ภาคเหนือ-เชียงใหม่) โกรยชะม้า (เขมร-สุรินทร์)

กลยาย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) หมากฟ้า (ภาคเหนือ) ลีมานีปีห์ (ภาคใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์          Citrus aurantifolia (Christm.) Swingle

ชื่อวงศ์                     RUTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มยืนต้น ที่มีขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ เปลือกของลำต้นมีหนามแหลมแข็ง มักเกิดตามบริเวณซอกใบ

ลักษณะใบ ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายรูปไข่หรือค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแผ่นใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร ก้านใบสั้น ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน

ลักษณะดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยว หรือดอกช่อ เกิดบริเวณซอกใบ กลีบดอกด้านบนมีสีขาว ส่วนด้านล่างมีสีม่วง

ลักษณะผล ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลม และมีขนาดต่าง ๆ กัน แล้วแต่ความอุดมทสมบูรณ์ของพื้นที่ปลูก และชนิดพันธุ์ ผิวของผลมีทั้งเรียบและขรุขระเล็กน้อย มีสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะมีสีค่อนข้างเหลือง มีต่อมน้ำมันที่ผิวในผล 1 ผล มี 8-10 กลีบ เนื้อของผลประกอบด้วยถุงเล็ก ๆ รูปไข่มากมาย มีน้ำและกรดจำนวนมาก มะนาวจึงมีรสเปรี้ยว

ลักษณะเมล็ด ลักษณะเมล็ดคล้ายรูปไข่ ส่วนหัวและท้ายแหลม มีเนื้อเยื่อสะสมอาหารเป็นสีขาว เมล็ด 1 เมล็ด สามารถเพาะได้หลายต้น

ระยะการออกดอกติดผล

เขตการกระจายพันธุ์  

เอเชีย ออสเตรเลีย

การใช้ประโยชน์        

เปลือกผล มีรสขม ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับเสมหะ และบำรุงกระเพาะอาหาร

น้ำมะนาว มีรสเปรี้ยวจัด ช่วยแก้โรคลักปิดลักเปิดหรืออาการเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับเสมหะ แก้ปวด แก้อักเสบ

ราก แก้ฟกช้ำ แก้อักเสบ แก้พิษสุนัขบ้ากัด ถอนพิษไข้ แก้ฝี และแก้ปวด

ใบ ใช้เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม ทำให้เจริญอาหาร ฟอกโลหิต และแก้ตับทรุด

ดอก แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ และขับเสมหะ

ผล แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ผิวแห้งตกสะเก็ด แก้สิวฝ้า แก้ไอ รักษาแผลจากแมลงมีพิษ และถ่ายพยาธิ

เมล็ด แก้พิษตานซาง แก้หายใจขัด แก้ไข้ขับเสมหะ แก้พิษฝีภายใน

แหล่งข้อมูล: อุทยานหลวงราชพฤกษ์