ผักบุ้งจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea aquatica Forsk. Var. reptan
วงศ์ Convolvulaceae
ชื่อท้องถิ่น ผักทอดยอด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักบุ้งจีน เป็นพืชผักใบเขียว เป็นพืชผักสมุนไพร เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง นำเข้ามาจากต่างประเทศ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะกลมๆ จะกลวงมีสีเขียวอมขาว ใบมีสีเขียว ดอกมีสีขาว ลำต้นจะมีข้อปล้อง มียางน้อยกว่าผักบุ้งไทย ลำต้นที่อยู่บนบกจะตั้งตรง มีความสูงประมาณ 30-35 ซม. หากสูงมากกว่านี้ลำต้นจะโน้มลงพร้อมเลื้อยบนพื้น ผักบุ้งจีนจะนิยมปลูกบนดิน จะเจริญงอกงามดีกว่าในน้ำ และจะได้รับอาหารจากในดินได้ดีกว่า ได้รับความนิยมในการรับประทาน และนิยมปลูกขายมากกว่าผักบุ้งไทย
เมนูเด็ด
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งต่อ 100 กรัม พลังงาน 19 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัมประโยชน์ของผักบุ้งเส้นใย 2.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 2.6 กรัม วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม 39% วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม 3% วิตามินบี 2 0.1 มิลลิกรัม 8% วิตามินบี 3 0.9 มิลลิกรัม 6% วิตามินบี 5 0.141 มิลลิกรัม 3% วิตามินบี 6 0.096 มิลลิกรัม 7% วิตามินบี 9 57 ไมโครกรัม 14% วิตามินซี 55 มิลลิกรัม 66% ธาตุแคลเซียม 77 มิลลิกรัม 8% ธาตุเหล็ก 1.67 มิลลิกรัม 13% ธาตุแมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม 20% ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม 8% ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6% ธาตุโพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม 7% ธาตุโซเดียม 113 มิลลิกรัม 8% ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม 2% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
- มีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัย ความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
- มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้
- ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ
- ช่วยบำรุงธาตุ
- สรรพคุณของผักบุ้งต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน
- ต้นสดของผักบุ้งช่วยในการบำรุงโลหิต
- ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
- ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท
- ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก (รากผักบุ้ง)
- มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
- ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
- ช่วยแก้อาการเหงือกบวม
- ช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลือ อมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง
ที่มา : https://medthai.com
https://www.thai-thaifood.com/th