ชื่อไทย                         ชะมวง

ชื่อท้องถิ่น                   กะมวง (ภาคใต้)  มวงส้ม (นครศรีธรรมราช) หมากโมก (อุดรธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์          Garcinia cowa Roxb. ex DC.

ชื่อวงศ์                          CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 4-10 เมตร มียางเหลือง

ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร

ลักษณะดอก ดอกสีเหลือง แยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นช่อ เกสรเพศผู้จำนวนมาก ดอกเพศเมียอยู่เดี่ยวหรือออกเป็นช่อ 2-3 ดอก รังไข่กลม

ลักษณะผล เป็นผลสดสด รูปกลมหรือเบี้ยวเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-4.5 เซนติเมตร เป็นร่องตามยาวโดยรอบ

ระยะการออกดอกติดผล

การติดดอก กุมภาพันธ์-เมษายน

การติดผล เมษายน-มิถุนายน

เขตการกระจายพันธุ์  

เอเชียตะวันออก – ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน อินเดีย บังคลาเทศ พม่า มาเลเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา ประเทศไทย พบตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าพรุ ป่าเต็งรัง

การใช้ประโยชน์        

อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

แหล่งข้อมูล : ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์