ผักกระเหรี่ยง
ชื่อไทย ผักกะเหรี่ยง (Baegu)
ชื่อท้องถิ่น เขลียง เรียนแก่ (นครศรีธรรมราช)/ ผักเมี่ยง เหมียง (พังงา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr.
ชื่อวงศ์ GNETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงได้โดยลำต้นไม้หัก ผิวเปลือกเรียบ เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ลักษณะใบ มีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรี กว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนัง ใบมีสีเขียวเป็นมัน
ลักษณะดอก มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้เป็นดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อตาม ข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อมีปุ่มดอกขนาดเล็กเรียงกันเป็น ข้อ ๆ ประมาณ 5-8 ข้อ กลีบดอกมีสีขาว ดอกตัวเมียเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดของดอก ใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ดอกออกเป็นช่อตามข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ใน แต่ละช่อมีปุ่มดอกเรียงเป็นข้อ ๆ ประมาณ 7-10 ข้อ ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย
ลักษณะผล มีลักษณะเป็นรูปกระสวย เปลือกกว้างประมาณ 1.0-1.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 2.5-4.0 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน
ระยะการออกดอกติดผล
–
เขตการกระจายพันธุ์
ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียว เติบโตได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้น พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 50-200 ม.
การใช้ประโยชน์
ใบ มีสรรพคุณในการบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา ใช้รับประทานสดและประกอบเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ต้มกะทิ ใช้ห่อเมี่ยงคำ ผัดวุ้นเส้น แกงไตปลา และผัดผัก ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย นิยมนำเนื้อในเมล็ดของผักเหมียงมาทำข้าวเกรียบ
แหล่งข้อมูล : อุทยานหลวงราชพฤกษ์