ผักกูด
ผักกูด Paco fern
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diplazium esculentum (Retz.) Sw.
วงศ์ ATHYRIACEAE
ชื่อท้องถิ่น ผักกูดขาว (ชลบุรี), หัสดำ (นครราชสีมา, สุราษฎร์ธานี), กูดน้ำ (แม่ฮ่องสอน), ไก้กวิลุ ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แลโพโด้ แหละโพะโด้ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), แทรอแปล๊ะ (กะเหรี่ยงแดง), หย่ายจ๊วด (เมี่ยน), เหล้าชั้ว (ม้ง), บ่ะฉ้อน (ลั้วะ), ร่านซู้ล (ขมุ), กูดคึ (ภาคเหนือ), ผักกูด (ภาคกลาง), กูดกิน เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชจำพวกเฟิร์น (TerF) ลักษณะเป็นเหง้าหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงสูงกว่า 1 เมตร มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ขอบเกล็ดหยักซี่ฟัน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบมีขนาดแตกต่างกัน มักยาวกว่า 1 เมตร ก้านใบยาว 70 ซม. กลุ่มใบย่อยคู่ล่างมักลดขนาดปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปกึ่งหัวใจหรือรูปติ่งหู ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบย่อยเป็นแฉก ปลายมน ขอบหยักซี่ฟัน แผ่นใบบาง กลุ่มอับสปอร์อยู่ตามความยาวของเส้นใบย่อย มักเชื่อมกับกลุ่มสปอร์ที่อยู่ในแฉกติดกัน ซึ่งมีเส้นใบมาสานกัน
เมนูเด็ด
คุณค่าทางโภชนาการ
ผักกูด 100 กรัม ในส่วนที่รับประทานได้ จะให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี เส้นใยอาหาร 1.4 กรัม ธาตุแคลเซียม 5 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 36.3 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3 ค่อนข้างสูง
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
- ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (ใบ)
- ผักกูดอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและเบตาแคโรทีน การรับประทานผักกูดร่วมกับเนื้อสัตว์จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย (ใบ)
- ใบผักกูดนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)
- ผักกูดเป็นผักที่มีคุณสมบัติช่วยดับร้อน ทำให้ร่างกายปรับสภาพอุณหภูมิให้เข้ากับฤดูได้
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด (ใบ)
- ช่วยบำรุงโลหิต เนื่องจากผักกูดเป็นผักที่มีธาตุเหล็กมากที่สุดเป็นอันดับ 1 (ใบ)
- ช่วยแก้โรคโลหิตจาง (ใบ)
- ช่วยบำรุงสายตา (ใบ)
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)
- ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้ (ใบ)
- ผักกูดเป็นผักที่มีเส้นใยอาหารสูงมาก จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างดี (ใบ)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ)
- ช่วยแก้พิษอักเสบ (ใบ)
ที่มา : https://medthai.com/
https://prayod.com