ฟักแฟงหรือฟักเขียว

ฟักเขียว Winter melon

ชื่อวิทยาศาสตร์ Benincasa hispida (Thunb.) Cogn.

วงศ์ CUCURBITACEAE

ชื่อท้องถิ่นอื่น มะฟักหอม (แม่ฮ่องสอน), ฟักขี้หมู ฟักจิง มะฟักขม มะฟักหม่น มะฟักหม่นขม (ภาคเหนือ), บักฟัก (ภาคอีสาน), ฟัก ฟักขาว ฟักเขียว ฟักเหลือง ฟักจีน แฟง ฟักแฟง ฟักหอม ฟักขม (ภาคกลาง), ขี้พร้า (ภาคใต้), ตังกวย (จีน), ดีหมือ ลุ่เค้ส่า (ชาวกะเหรี่ยง), หลู่ซะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หลู่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), หลึกเส่ (กะเกรี่ยงแดง), สบแมง (เมี่ยน), ฟักหม่น ผักข้าว (คนเมืองล้านนา) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ฟักเขียวเป็นพืชอายุสั้น มีลำต้นสีเขียวมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบมีลักษณะเป็นหยักคล้ายฝ่ามือขอบใบแยกออกเป็น 5–7 แฉก ปลายแฉกแหลมใบหยาบเรียงสลับกันตามข้อต้น ใบกว้างประมาณ 5–15 เซนติเมตร มีขนปกคลุม ก้านใบยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีดอกเดี่ยว (Solitary Flower) สีเหลือง ดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นหลอดยาว 5–10 เซนติเมตร ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ส่วนดอกเพศเมียก้านดอกจะสั้นกว่าดอกเพศผู้ ปลายดอกแยกออกเป็น 3 แฉก มีรังไข่อยู่ภายในดอก ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมยาวกว้างประมาณ 20–30 เซนติเมตร ยาว 30–60 เซนติเมตร เปลือกแข็งสีเขียวเนื้อในสีขาว เนื้อแน่น ฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมากสีขาวออกเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียวสด ต่อ 100 กรัม พลังงาน 13 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม เส้นใย 2.9 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.4 กรัม วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม 3% วิตามินบี 2 0.011 มิลลิกรัม 9% วิตามินบี 3 0.4 มิลลิกรัม 3% วิตามินบี 5 0.133 มิลลิกรัม 3% วิตามินบี 6 0.035 มิลลิกรัม 3% วิตามินซี 13 มิลลิกรัม 16% ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม 2% ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม 3%

ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3% ธาตุแมงกานีส 0.058 มิลลิกรัม 3% ธาตุฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม 3%

ธาตุโซเดียม 111 มิลลิกรัม 7% ธาตุสังกะสี 0.61 มิลลิกรัม 6% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

เมนูเด็ด

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. การรับประทานฟักเขียวเป็นประจำช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการโรคมะเร็ง (ผล)
  2. ช่วยลดน้ำหนักและไขมันในเส้นเลือด ด้วยการใช้เนื้อฟักและเปลือกนำมาต้มเป็นชาดื่มแทนน้ำเป็นประจำ (ผล, เปลือก)
  3. ผลใช้รับประทานมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มพลังทางเพศ (ผล)
  4. ช่วยลดขนาดของเซลล์ไขมัน จากการวิจัยกับหนูทดลองในประเทศจีนพบว่า หนูทดลองมีเซลล์ไขมันที่ลดลงและมีค่าดรรชนีความอ้วนต่ำลงด้วย (ผล)
  5. ในประเทศเกาหลีมีการใช้ฟักเขียวเพื่อรักษาโรคเบาหวาน (ผล)
  6. ช่วยเพิ่มกำลังวังชา (ผล, เมล็ด)
  7. ช่วยบำรุงผิวพรรณ (เมล็ด)
  8. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ผล)
  9. น้ำคั้นจากผลฟักใช้รักษาโรคเส้นประสาท (ผล)
  10. สารสกัดจากเมล็ดสามารถช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและมะเร็งได้ เนื่องจากสารสกัดจากเมล็ด

มีสารต้านออกซิเดชันของกรดไลโนเลอิก ช่วยลดอัตราการออกซิเดชันของไขมันเลว(LDL) และยังช่วยยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์สร้างแอนจิโอเทนซิน (angiotensin-converting enzyme ACE) ได้มากกว่าส่วนอื่นของผล เพราะมีสารประกอบฟีนอลและมีฤทธิ์เอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสมากกว่าส่วนอื่น ๆ มันจึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและโรคมะเร็งได้ (ผล, เมล็ด)

 

ที่มา : https://medthai.com

https://th.wikipedia.org/wiki