มหาพรหมราชินี
ชื่อไทย มหาพรหมราชินี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K. Saunders
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น สูง 6 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น
ลักษณะใบ ใบรูปใบหอก ยาว 6-22 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนแหลมหรือมน แผ่นใบด้านล่างเป็นมันวาว มีขนกระจาย เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร
ลักษณะดอก ช่อดอกมีขนกำมะหยี่ มี 1-3 ดอก ก้านดอกยาว 1.8-2.7 เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ ยาว 5-7 เซนติเมตร กลีบรูปไข่กว้าง ยาว 1.3-1.5 เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น กลีบดอกวงนอกสีขาว รูปไข่กว้าง ยาว 4-5.5 เซนติเมตร วงในสีชมพูอมม่วง รูปไข่ สั้นกว่าวงนอกเล็กน้อย โคนรูปเงี่ยงลูกศร
ลักษณะผล ผลย่อยมี 10-15 ผล รูปขอบขนาน ยาว 5-6 เซนติเมตร มีขนละเอียด ก้านยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร
ระยะการออกดอกติดผล
การติดดอก เมษายน-พฤษภาคม
เขตการกระจายพันธุ์
เป็นพรรณไม้หายาก เนื่องจากมีจำนวนต้นในสภาพถิ่นกำเนิดน้อยมาก และมีการกระจายพันธุ์ต่ำ เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่แม่ฮ่องสอน ขึ้นตามป่าดิบเขาที่เป็นหินปูน ความสูง 1000-1100 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง
การใช้ประโยชน์
พืชประดับ
หมายเหตุ
ค้นพบโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โดยพบว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณยอดเขาสูงชัน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แหล่งข้อมูล : สำนักงานหอพรรณไม้ – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช / อุทยานหลวงราชพฤกษ์