ชื่อไทย                         มะกา

ชื่อท้องถิ่น                องแกบ (เชียงใหม่), ขี้เหล้ามาดกา (ขอนแก่น), ซำซา มะกาต้น (เลย), มัดกา มาดกา (หนองคาย), มาดกา (นครราชสีมา), กอง กองแกบ (ภาคเหนือ), ส่าเหล้า สิวาลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์          Bridelia ovata Decne.

ชื่อวงศ์                    EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว

ลักษณะใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

ลักษณะดอก ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรดอกเป็นสีแดง

ลักษณะผล กษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่

ระยะการออกดอกติดผล

​            ออกดอกและติดผลเกือบตลอดปี

เขตการกระจายพันธุ์  

อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย และทุกภาคในประเทศไทย พบตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณ

การใช้ประโยชน์        

ใบ : เป็นยาระบาย ใช้ใบแห้งปิ้งไฟพอกรอบ 1.5-2 กรัม ชงด้วยน้ำเดือด แช่ไว้ 15-20 นาที ดื่มแต่น้ำก่อนนอน ขับเสมหะ แก้ไข้

แหล่งข้อมูล : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร / ไทยเกษตรศาสตร์