ชื่อท้องถิ่น กล้วยบัวสีชมพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa ornata Roxb.
ชื่อวงศ์ MUSACEAE
ข้อมูลทั่วไป
ถิ่นอาศัย พื้นที่ลาดเทแต่มีน้ำไหลผ่านหรือมีความชื้น
แหล่งที่พบ กำเนิดที่อินเดียและมีการกระจายพันธุ์มาเมืองไทย ปลูกเป็นไม้ประดับกันทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร การแตกหน่อใกล้ต้นแม่ สีของกาบลำต้นเทียมสีเขียวปนเหลือง มีประดำน้อย มีไขบนลำต้นมาก บริเวณโคนต้นและกาบด้านในไม่มีสีชมพู
ใบ เส้นกลางใบมีสีชมพู บริเวณโคนก้านใบมีปีก ขอบก้านใบตั้งขึ้น
ปลี หรือดอก ก้านช่อดอกหรือก้านเครือเรียบเป็นมันไม่มีขน ช่อดอกหรือปลีชี้ตั้งขึ้น ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว มีปลายแหลม ด้านบนสีชมพูอมม่วงมีนวลเล็กน้อย สีด้านล่างชมพูอมมม่วง ใบประดับม้วนเล็กน้อย ดอกย่อยกลีบรวมสีส้มเข้ม โคนกลีบสีครีม กลีบรวมเดี่ยวบาง ปลายกลีบแต้มสีเหลืองอ่อน บริเวณตรงกลางสีครีมปนสีชมพู มีรอยหยักบริเวณปลายกลีบเล็กน้อย
ผล ผลขนาดเฉลี่ยกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลมี 5 หวีต่อเครือ 2-3 ผลต่อหวี และ 2 หวีต่อเครือ ถ้าปลูกในอากาศที่เย็นผลมีขนาดใหญ่มาก และมี 7-8 หวีต่อเครือ
ประโยชน์
นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
สรรพคุณ
กาบหัวปลี ผล และรากเหง้า เป็นยาแก้ท้องเสียในเด็กได้เป็นอย่างดี
แหล่งที่มา สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช