หมาก
ชื่อไทย หมาก (Areca palm)
ชื่อท้องถิ่น พลา (ภาคเหนือ)/ หมากมู้ (ลำปาง)/ หมากเมีย (ภาคกลาง)/ หมากสง (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Areca catechu L.
ชื่อวงศ์ ARECACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นตรง ไม่แตกกิ่งก้าน สูง 5-15 เมตร ลำต้นเดี่ยวแข็งแรง ลำต้นมีสีเขียวบริเวณใกล้ส่วนยอด และเมื่ออายุมากขึ้นลำต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา
ลักษณะใบ ยาวได้ถึง 4 เมตร และมีใบฝอยหลายใบ แต่ละใบยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร
ลักษณะดอก ขึ้นตามซอกใบ ดอกรวมเป็นช่อใหญ่ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมหวานเย็น
ลักษณะผล กลมหรือรี ผลอยู่รวมกัน 50-100 ผลใน 1 ทะลาย ผลอ่อนมีสีเขียวเรียกว่าหมากดิบ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองเรียกว่าหมากสุก
ระยะการออกดอกติดผล
–
เขตการกระจายพันธุ์
ตอนใต้ของจีน (กวางสีไห่หนานยูนนาน) ไต้หวัน อินเดีย บังคลาเทศ มัลดีฟส์ ศรีลังกา กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย นิวกินี และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ประเภทการใช้ประโยชน์
ผลดิบ : นำผลดิบไปผสมปูนแดง และใบพลูเคี้ยวเพื่อชะล้างสิ่งโสโครกและฆ่าเชื้อโรคในปาก
แหล่งข้อมูล : อุทยานหลวงราชพฤกษ์