สาละ
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Shorea robusta C.F.Gaertn.
วงศ์ : Dipterocarpaceae
คุณลักษณะ
ไม้ต้น หูใบรูปเคียว แผ่นใบเกลี้ยง ใบแก่สีเหลือง ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ยาวได้ถึง 25 ซม. มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ดอกสีครีมมีปื้นชมพู มี 5 กลีบ กลีบรูปแถบ บิดเวียน ยาว 1–1.5 ซม. โคนกลีบซ้อนกันรูปถ้วย เกสรเพศผู้จำนวนมากเรียง 3 วง อับเรณูรูปไวโอลิน มีขนกระจาย แกนอับเรณูปลายมีติ่งสั้น ๆ รังไข่มีขนสั้นนุ่ม ยอดเกสรเพศเมียจัก 3 พู ผลรูปรีกว้าง ยาว 1–2 ซม. มีขนละเอียด ปีกยาว 3 ปีก ยาว 5–8 ซม. ปีกสั้น 2 ปีก ยาวได้ถึง 3.5 ซม. โคนหนา เรียงซ้อนเหลื่อม
การกระจายพันธุ์
มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เนปาล ภูฏาน บังกลาเทศ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
เกร็ดความรู้
คล้ายกับต้นรัง Shorea siamensis Miq. แต่รังใบแก่สีแดง เกสรเพศผู้มี 15 อัน เส้นแขนงใบมีมากกว่า และมีขนสั้นรูปดาวประปราย สาละเป็นไม้ในพุทธประวัติเกี่ยวข้องกับการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
แหล่งที่มา