ตะไคร้ Lemongrass

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus

วงศ์ Graminae

ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ), หัวซิงไค (ภาคอีสาน), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพร ประเภทพืชล้มลุก ตระกูลหญ้า  ที่เจริญเติบโตง่าย นิยมนำมาประกอบอาหาร  มีถิ่นกำเนิด ในประเทศไทย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา อินเดีย และโซนทวีปอเมริกาใต้  ต้นจะมีลักษณะเป็นพุ่มโดยรวมสูงประมาณ 4-6 ฟุต ในไทยเองบางครั้งพบตะไคร้สูงเป็นเมตร แต่ลำต้นที่แท้จริงสูง 5-6 เซนติเมตร เท่านั้น ตะไคร้บริเวณโคนจะออกสีขาวนวล เรียกว่า “หัว” ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเรียวยาว ปลายใบแคบแหลม และมีขนหนาม  เส้นใบขนานกับก้านใบ แตกออกเป็นกอ ยาว 30-60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนระคายมือเล็กน้อย ส่วนด้านล่างและบริเวณขอบใบจะเรียบ ตัวใบจะอุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย และโดยรวมตะไคร้ยังมีวิตามิน และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ อาทิ ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ เป็นต้น

 

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ (100 กรัม) พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม เส้นใย 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม เถ้า 1.4 กรัม

เมนูเด็ด

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. ใบและต้นแห้งนั้นจะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ส่วนปลายของสัตว์ที่ตัดแยกจากลำ ตัว เช่น

กระต่ายส่วนรากแห้งจะนำมาสกัดด้วยน้ำร้อนขนาด 2.5 ก./ก.ก. ซึ่งผลออกมาแล้วจะไม่มีผลในการลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายเลยและถ้านำทั้งต้นมาสกัดจาก แอลกอฮอล์อยู่ 95% จะมีฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือน โดยทำให้เกิดเป็นอัมพาตภายใน 24ชม. แต่พยาธินั้นจะไม่ตายเลย

  1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
  2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
  3. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
  4. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
  5. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  6. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
  7. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
  8. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
  9. น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้
  10. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  11. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
  12. ใช้เป็นยาแก้อาเจียนหากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
  13. ช่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
  14. รักษาโรคหอบหืดด้วยการใช้ต้นตะไคร้
  15. ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)

 

ที่มา : กองโภชนาการ (2544)

https://puechkaset.com

http://www.thaichef.in.th/mobile/article_herbdetail.php?aid=7