แตงกวา Cucumber

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cucumis sativus L.

วงศ์  Cucurbitaceae

ชื่อท้องถิ่นอื่น  แตงชั้ง แตงร้าน แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย (ภาคเหนือ) แตงฮัม แตงเห็น (เชียงใหม่) แตงปี แตงยวง (แม่ฮ่องสอน) ตาเสาะ (เขมร) อึ่งกวย (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แตงกวาเป็นพืชล้มลุกประเภทผลไม้ แต่คนมักจะเข้าใจว่าเป็นพืชประเภทผัก(ผลไม้เป็นส่วนย่อยของผัก) และจัดว่าอยู่ในกลุ่มของสมุนไพรไทย มีลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ที่อายุไม่ยืน (ประมาณ 1 ปี) เป็นพืชที่มีรากแก้ว แตกแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาลักษณะเหลี่ยมและมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร มีหนวดเกาะบริเวณข้อโดยส่วนปลายของหนวดไม่มีการแตกแขนง ใบเป็นใบเดี่ยวทรงสามเหลี่ยม มีมุม 3 – 5 มุม ใบเว้าเข้า มีก้านใบยาว 5 – 15 เซนติเมตร ลักษณะหยาบและมีขน เมื่อใบมีขนาดใหญ่จะมีมีเส้นใบประมาณ 5 – 7 เส้น ส่วนดอกจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ละประมาณ 3-5 ดอก จุดสังเกตจะอยู่ตรงเกสรที่ยื่นออกมาทางหน้าดอกเล็กน้อยและไม่มีลูกเล็กๆ ติดอยู่ที่โคนดอก ส่วนดอกเพศเมียจะเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว และกลีบดอกสีเหลือง โดยปกติแล้วกลีบเลี้ยงและกลีบดอก จะมีอย่างละประมาณ  5 กลีบ และจะมีรังไข่ (ลูกเล็กๆ ติดอยู่ที่โคนดอก) ให้เห็นอย่างชัดเจน ผลของแตงกวาจะยาวเป็นทรงกระบอกที่ด้านปลายเล็กกว่าตรงโคน ความยาวโดยรวมของผล พบได้ตั้งแต่  5 – 60 เซนติเมตร ที่แกนกลางด้านในของผลประกอบด้วยเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งตอนที่ผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามขนาดเล็กเห็นได้ชัด  ทั้งหนามสีดำ และสีขาว โดยถ้าหนามเป็นสีดำ มักจะเก็บได้เพียง 3-4 วัน หลังจากเก็บเกี่ยว  แต่ถ้าหนามเป็นสีขาว จะเก็บไว้ได้นาน ถึง 7 วัน  ซึ่งผลของแตงกว่าไม่เหมาะที่จะให้อยู่ติดดินเพราะจะทำให้เสียงาน ดังนั้นหากปลูกในเชิงเศรษฐกิจ จึงมักจะให้สูงขึ้นไปบนนั่งร้านหรือปลูกบนไม้ค้างต่างๆ  ผลที่นำมาใช้รับประทานส่วนใหญ่จะเป็นผลอ่อนสีเขียว หากสุกมากจนมีสีเหลืองจะมีรสเปรี้ยวและขม

คุณค่าทางโภชนาการ

ผลอ่อนของแตงกวาทั้งผลมีส่วนที่รับประทานได้ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัมนั้น ประกอบด้วยน้ำ 96 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม เหล็ก 0.3 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 15 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม วิตามินเอ 45 IU วิตามิน บี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม พลังงาน 63 กิโลจุล เมล็ดมีน้ำมันเป็นองค์ประกอบ 42% และโปรตีน 42 % น้ำหนักเมล็ด 20-35 กรัม ต่อ 1,000 เมล็ด แตงกวามีรสขมเนื่องจากมีสารคิวเคอร์บิทาซิน (Cucurbitacins ) ในเมล็ดแตงกวามีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 96 จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย

เมนูเด็ด

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ (น้ำแตงกวา)
  2. ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (น้ำแตงกวา)
  3. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก
  4. ช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด (ใบแตงกวา)
  5. น้ำคั้นจากแตงกวามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
  6. ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย
  7. น้ำแตงกวามีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ
  8. ช่วยลดอาการบวมน้ำ
  9. จากผลงานวิจัยพบว่าแตงกวามีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อนๆ ในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย กระตุ้นลำไส้เล็ก

และมดลูกให้หดตัว กระตุ้นการสร้างแบคทีเรีย ยับยั้งไทรอยด์เป็นพิษ ต่อต้านการกลายพันธุ์ ต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอก ช่วยฆ่าพยาธิ กระตุ้นการสร้าง interferon ช่วยไล่แมลง ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ลบรอยแผลเป็น เป็นต้น

  1. แตงกวาอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผิวที่ดี และเป็นสารตั้ง

ต้นในการสังเคราะห์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ Natural Moisturizing Factors (NMFs) และยังมีกรดอะมิโนซีสทีน (Cystine) และเมไธโอนีน (Methionine) ที่ช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นแก่ผิวด้วยแตงกวามีสารแอนโทแซนทิน (Anthoxanthins) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่าและช่วยต้านเชื้อวัณโรคได้ การดื่มนำคั้นจากแตงกวาเป็นประจำก็จะช่วยบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนังได้เป็นอย่างดี และยังช่วยชะลอวัยให้เส้นผม แก้ปัญหาผมบางได้อีกด้วยแตงกวานิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริก อาหารจานเดียว ฯลฯ ช่วยผ่อนคลายความเผ็ด และช่วยแก้เลี่ยนในอาหารจานเดียว

 

ที่มา : http://www.thaichef.in.th/mobile/article_herbdetail.php?aid=10

https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/vegetables/08.html