ชื่อไทย มะค่าแต้
ชื่อท้องถิ่น กอกก้อ (ชาวบน-นครราชสีมา)/ แต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ มะค่าหนาม (ภาคกลาง, ภาคเหนือ)/ มะค่าหยุม (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น สูง 10-20 ม. ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ทรงพุ่มกว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือเทา ผิวเปลือกแตกเป็นร่อง
ลักษณะใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ ใบย่อยรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-10 ซม. โคนใบมน ปลายใบตัดหรือมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ เนื้อใบหนาคล้ายหนัง
ลักษณะดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ช่อดอกตั้ง กลีบเลี้ยงหนา 4 กลีบ รูปไข่กว้าง ปลายกลีบมีหนามขนาดเล็ก กลีบดอก 0.5-0.7 ซม. ก้านดอกยาว 0.2-0.4 ซม. ผิวดอกย่อยมีขนสีน้ำตาล เกสรเพศผู้ 10 อัน และมี 2 อันที่ใหญ่กว่าเกสรอื่น ๆ ผลเป็นฝัก รูปไข่กว้างหรือรูปโล่ ผิวเปลือกมีหนามแหลม โคนผลเบี้ยวและมักมีติ่งแหลม ขนาด 4.5-10 ซม.
ลักษณะผล ผลเป็นฝักแบถั่ว กว้าง 4.5-7.0 ซม. รูปกลม แบน ผนังมีหนามแข็ง หนามยาว เมล็ดแบน รูปรี สีดำ มีเนื้อเยื่อสีเหลืองติดที่ฐาน มี 1-3 เมล็ด
ระยะการออกดอกติดผล
ติดดอก มีนาคม-พฤษภาคม
ติดผล กรกฎาคม-กันยายน
เขตการกระจายพันธุ์
พบในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง
การใช้ประโยชน์
เปลือกต้น ต้มดื่มแก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้า แก้พยาธิ และ ริดสีดวงทวาร
เมล็ด รสเบื่อเมาสุขุม เป็นยาขับพยาธิ
แก่น ต้มดื่มเป็นยาบำรุงกำรัง
เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ทำเครื่องมือเกษตรกรรมและทำเครื่องเรือน
แหล่งข้อมูล : สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้