มะกอกน้ำ
ชื่อไทย มะกอกน้ำ
ชื่อท้องถิ่น สมอพิพ่าย (ระยอง)/ สารภีน้ำ (ภาคกลาง, เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeocarpus hygrophilus Kurz
ชื่อวงศ์ ELAEOCARPACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นผลัดใบไม่พร้อมกัน สูงประมาณ 8-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง ลำต้นค่อนข้างเรียบสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่อง มีรูอากาศตามแนวยาว
ลักษณะใบ ใบรูปไข่กลับ หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 5-12 เมตร ปลายมนหรือกลม ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ก้านใบสีแดง ยาว 0.5-2 เมตร
ลักษณะดอก ดอกสีขาวครีม ออกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกยาว 2-10 เมตร ก้านดอกยาว 2-7 เมตร ดอกห้อยลงคล้ายระฆัง ขนาด 4-8 เมตร กลีบดอกจำนวน 5 กลีบ รูปไข่กลับ กว้าง 3-4 มิลลิเมตร ยาว 5-8 มิลลิเมตร ปลายกลีบเป็นฝอยเล็กยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวกลีบ เกสรผู้จำนวน 15-25 อัน อยู่ภายในดอก
ลักษณะผล ผลทรงรียาวสีเขียว กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยง ปลายแหลม ก้านผลยาว 0.7-1 เซนติเมตร เมล็ดแข็งรูปกระสวย
ระยะการออกดอกติดผล
–
เขตการกระจายพันธุ์
พบมากในภาคกลาง ที่ชุ่มชื้นและใกล้แหล่งน้ำ ริมน้ำ ตามชายฝั่งทะเล ป่าโกงกาง ป่าพรุ
การใช้ประโยชน์
ผล ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ผลสุกหรือผลดองน้ำเกลือ รับประทานได้ มีรสฝาดอมเปรี้ยว
เปลือกต้น ฟอกเลือดหลังการคลอดบุตรของสตรี
ดอก แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ
แหล่งข้อมูล : ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ / อุทยานหลวงราชพฤกษ์