บุนนาค
ชื่อไทย บุนนาค (Ceylon ironwood)
ชื่อท้องถิ่น สารภีดอย ก๊าก่อ ก้ำก่อ ปะนาคอ ประนาคอ นาคบุตร นากบุต รากบุค
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesua ferrea L.
ชื่อวงศ์ CALOPHYLLACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น สูง 15-25 เมตร ลำต้นเปลา เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา
ลักษณะใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปหอกหรือขอบขนาน ปลายเรียวแหลม กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร โคนใบสอบ ใบอ่อนสีชมพู ใบแก่มีคราบขาวทางด้านล่าง เส้นใบถี่
ลักษณะดอก ดอกสีขาวหรือสีนวล กลิ่นหอมแรง ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก กระจุกละ 2-3 ดอก ตามซอกใบ ดอกกว้าง 5-10 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปช้อนเป็นกระพุ้ง มี 2 ชั้น ๆ ละ 2 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่กว้าง ขอบเป็นคลื่นเล็กน้อย เกสรผู้จำนวนมากสีเหลือง
ลักษณะผล ผลรูปไข่ แข็ง กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 4 เซนติเมตร ปลายโค้งแหลม มีกลีบเลี้ยงขยายโตขึ้นเป็นกาบหุ้มผล 4 กาบ ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด
ระยะการออกดอกติดผล
–
เขตการกระจายพันธุ์
อินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงคโปร์ พบอยู่ประปรายในป่าดิบชื้นและป่าดงดิบแล้งทางภาคเหนือ และภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 20-700 เมตร
การใช้ประโยชน์
ราก แก้ลมในลำไส้ กระพี้ ขับเสมหะในลำคอ
ไม้ เหนียวแข็ง ทนทาน ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ ก่อสร้าง ต่อเรือ ทำพานท้าย และรางปืน และด้ามร่ม
ใบ พอกแผลสด
ดอก ใช้ผสมสี เพื่อช่วยให้สีติดคงทน
เมล็ด กลั่นน้ำมันใช้จุดตะเกียง และทำเครื่องสำอาง
แหล่งข้อมูล : สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ – กรมป่าไม้