ชื่อไทย                    แก้วเจ้าจอม

ชื่อสามัญ                    Guaiac wood/ Lignum vitae/ Roughbark lignum vitae

ชื่อวิทยาศาสตร์          Guaiacum officinale L.

ชื่อวงศ์                         ZYGOPHYLLACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 15 เมตร ข้อเป็นปุ่ม

ลักษณะใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ก้านใบ ยาว 0.5-1.0 เซนติเมตร ใบย่อย 2-3 คู่ รูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง ปลายมน โคนใบรูปลิ่ม

ลักษณะดอก ดอกออกแบบช่อกระจุก มี 3-4 ดอก ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 5 กลีบ ดอกสีฟ้าอมม่วงหรือสีขาว 5 กลีบ รูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 1-2 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน

ลักษณะผล ผลแห้งแตกรูปหัวใจ แบน ยาว 1.5-2.0 เซนติเมตร ปลายมีติ่งแหลม ขอบหนา 2 ข้าง  สีเหลืองอมส้ม

ลักษณะเมล็ด มีเยื้อหุ้มสีแดง มี 1-2 เมล็ด

ระยะการออกดอกติดผล

การติดดอก สิงหาคม – เมษายน

เขตการกระจายพันธุ์  

ประเทศเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แสงแดดส่อง การปลูกเลี้ยง ชอบดินร่วน ดินที่มีการระบายน้ำดี แสงแดดจัด ต้องการน้ำปาน

การใช้ประโยชน์        

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวน หรือสถานที่ตามร้านกาแฟต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม เนื้อไม้ ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ยาระบาย และเป็นยาฝาดสมาน

หมายเหตุ

เป็นดอกไม้ประจำชาติของจาไมก้า อยู่ในบัญชีที่ 2 ของ CITES เนื้อไม้โดยเฉพาะแก่นมีความแข็งแรงสูง เป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน ชื่อสามัญ Lignum vitae หมายถึง ไม้แห่งชีวิต (wood of life) อนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำต้นกล้ามาจากเกาะชวา และทรงปลูกที่วังสวนสุนันทา เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

แหล่งข้อมูล: สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช