การปรับเปลี่ยนความคิด นับว่าเป็นความท้าทายที่ถูกพูดถึงมากในการประชุม COP26 เพราะว่า “ช่วยสร้างความตระหนักแก่สาธารรณะชนได้” ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากที่สุด เนื่องจากหากเราได้รู้จักการแก้ปัญหาที่ต้นตอของปัญหา ซึ่งเป็นผลให้เราสามารถปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล แต่ถ้าหากการแก้ปัญหาของทุกประเทศ จะสนใจแค่เพียง “การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุโดยใช้งบประมาณมหาศาล สุดท้ายจะเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะแก่ประเทศ ส่งผลต่อ ความยั่งยืน ทั้ง 3 ด้านคือ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม (ตามภาพที่ 1) ท้ายที่สุดเราจะวกเข้าสู่ปัญหาจุดเดิม แต่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เช่น การขาดแคลนแหล่งอาหาร ภัยพิบัติต่าง ๆ ความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่รุนแรงมากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติเหลือน้อยเพราะนำไปเป็นปัจจัยในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อใช้หนี้สาธารณะ แต่ไม่มีทรัพยากรเหลือพอใช้สำหรับทุกคนในประเทศนั้น”
การแก้ไขที่เริ่มจากการปรับแนวคิด นอกจาก จะช่วยลดการใช้งบประมาณและยังอาจส่งผลกระทบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน ซึ่งการปรับตัวของผู้คนในสังคมสามารถจะส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างมาก เราอาจนิยามได้ว่านี่คือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงแบบพลวัต (Dynamic) เพราะมันจะเป็นการสืบทอดทางความคิดไปยังลูกหลานของเราในอนาคตได้ “การที่ลูกหลานเรามีจริยธรรมที่ดี ย่อมดีกว่าการสร้างกฎหมายที่เข้มงวด”
การบอกตัวเราเองกับลูกหลานว่า “เราไม่ใช้ผู้ที่อยู่เหนือระบบนิเวศ แต่เราคือผู้ที่อาศัยในระบบนิเวศ ต่อให้คุณอยู่ในเขตเมือง คุณก็คงยังต้องใช้ออกซิเจนจากพื้นป่าในการหายใจอยู่ โลกไม่ได้เป็นหนี้กับพวกเรา แต่แท้จริงนั้น เราติดหนี้บุญคุณกับโลกใบนี้ และตอนนี้โลกกำลังทวงหนี้เราอยู่ ไม่มีสิ่งใดที่ได้มาฟรี แต่เราสามารถทดแทนคืนได้จากการที่เรากระทำต่อโลกใบนี้ คือ การปลูกป่า ลดการผลิตขยะ หรือลดการปลดปล่อย CO2 นี้ก็คือการใช้หนี้ให้กับโลกใบนี้”
เรามาลองทบทวนดูว่า จะมีแนวคิดอะไรบ้างที่เรา พอจะปรับแนวคิดของเราให้กลับมาเห็นคุณค่าโลกใบนี้ หรือเพิ่มพลังรักษ์โลกให้กับเราได้บ้าง มันอาจจะยาก แต่ขอให้เราช่วยลองเปิดใจ อ่าน และคิดตาม ทำซ้ำจนเป็นนิสัย คงไม่ยากเกินไป
“มันก็เหมือนดินสอ 2 บี ที่เราฝนมันซ้ำ พอเราลงมือทำทุกวัน มันจะลบออกได้ยาก ต่อให้ลบได้ก็เหลือร่องรอยไว้ หากเราลองทำอะไรง่าย ๆ เช่น ลดใช้ถุงพลาสติกวันนี้ ทำซ้ำๆทุกวัน มันจะกลายเป็นนิสัยฝังลึกจนสุดท้ายกลายเป็นสิ่งที่ทำด้วยความเคยชินเชิงบวก แบบดีต่อเรา ดีต่อโลก”
เลือกหัวข้อที่สนใจ
- เศรษฐกิจพอเพียง
- กฎของแรงดึงดูด ช่วยโลกเราได้
- การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)
- จริยธรรม ต่างจากกฎหมาย ?
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านคือ บิดาแห่งนวัตกรรมอย่างแท้จริง ท่านได้นำวิถีชีวิตของคนไทย มาปรับใช้กับวิถีการจัดการทางเศรษฐศาสตร์ และท่านได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วในการเปลี่ยนพระราชฐานเป็นศูนย์ศึกษาทดลอง จนเป็นประจักษ์ไปทั่วโลก โดยการใช้วิธีการบูรณาการทางความรู้ได้อย่างลงตัวและการต่อยอดจากวิถีชีวิตเดิมให้เกิดประโยชน์ที่เพิ่มพูนขึ้น จากแค่ผืนดินอันน้อยนิด แต่มีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า จนกลายเป็นความมั่นคงทางอาหารให้ปวงชนชาวไทยจนถึงปัจจุบัน
พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป…” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“…คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้…” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง (มูลนิธีชัยพัฒนา, 2560)
จากเว็ปไซด์ https://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html
เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อให้กำลังใจตัวเอง ด้วยการคิดที่ใช้เวลาไม่มากนักแต่หากทำซ้ำทุก ๆ วัน จะส่งเกิดผลอันน่าอัศจรรย์ให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ได้ โดยเริ่มจากการทำ 3 ขั้นตอน คือ
- คิดเสมอว่าทุกอย่างบนโลกใบนี้จะตอบแค่คำว่า “ใช่ หรือ Yes” อย่างเดียว
- ตั้งคำถาม แล้วตอบกับใจตัวเองว่า “ใช่ หรือ Yes” แล้วทางออกของคำว่า “ใช่ หรือ Yes” จะมาตอบกับคุณเองว่าควรทำอย่างไร
- ลงมือทำตาม คำตอบที่คุณคิดขึ้นมาได้ แล้วทำซ้ำ “อย่าตั้งคำถามว่าทำอีกนานเท่าไหร่ เราทำให้ได้ทุกวันก็พอ” เพราะทุกอย่างที่มีเวลาเข้ามาเกี่ยวคือการตีกรอบและนำพาให้เราอึดอัดจนอาจคิดติดลบตามมา แล้วสุดท้ายคุณจะท้อใจแล้วเลิกไปเอง
เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ ส่วนใหญ่เรามักใช้ในการวางแผนระบบงานขนาดใหญ่เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด แต่ที่เราแนะนำ “ผมไม่ได้ให้คุณคิดมากจนปวดหัว เพื่อแก้ปัญหา แต่คิดให้ง่ายเพื่อเข้าใจปัญหา และเกิดวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมง่าย ๆ” ***ในเชิงลึกผมจะให้คุณไปศึกษาเพิ่มเอาเอง แต่ผมจะบอกคุณง่าย ๆ เพื่อให้ง่ายและนำนำไปใช้ได้จริง*** คิดง่าย ๆ “ทุกกระบวนการที่ทำจะเกิดผลที่ตามมาแล้วพอเราเห็นภาพก็หาวิธีจัดการมัน”
พอเราทราบว่าขยะเกิดขึ้นมาจากสาเหตุอะไร และมีขยะประเภทไหนมาก เราก็แก้ไขปัญหานั้น เช่น แยกขยะนำไปขายเพื่อเป็นรายได้กลับคืนมา ซื้อของเท่าที่จำเป็นเข้าบ้าน หรือเราสามารถใช้ขวดน้ำซ้ำเพื่อลดการซื้อขวดน้ำใหม่ แล้วนำขวดใช้แล้วใช้ซ้ำนำไปกรอกน้ำดื่มต่อ เปลี่ยนเศษอาหารเป็นปุ๋ย ต่อยอดสู่การนำไปจำหน่าย หรือปลูกผักกินเองได้เพื่อต้นทุนการซื้อวัตถุดิบสวนครัวเพื่อลดขยะและลดค่าใช้จ่าย สร้างรายได้กลับคืนมาให้เราได้
หากหลายคนยังสงสัยว่ามันคืออะไร อธิบายง่าย ๆดังนี้ จริยธรรมคือพฤติกรรมที่ดีงาม ซึ่งทำจนติดเป็นนิสัย ต่างกับกฎหมายมีไว้สำหรับควบคุมผู้กระทำความผิด และมีบทลงโทษเพื่อสั่งสอนให้ผู้กระทำความผิดเกิดความกลัว ไม่กระทำความผิดซ้ำอีก แต่ท้ายที่สุดหากกฎหมายไม่น่ากลัวพอ ก็จะมีคนทำความผิดเพิ่มมากขึ้น หรือเราต้องปรับปรุงกฎหมายใหม่ ผมมีแย่คิดให้สั้น ๆ ว่าจริยธรรมสิ่งแวดล้อมมันง่ายแค่ไหน
“กฎหมายหรือนโยบายมักเกิดหลังที่มีปัญหาแล้ว เช่น เราทิ้งขยะเกลื่อนกราดตามท้องถนนจนเกิดปัญหาขยะไปอุดตันท่อไม่สามารถระบายน้ำได้ จึงมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมเพื่อป้องกันผู้กระทำผิด ซึ่งต้องตามมาด้วยการเพิ่มปริมาณคน และระยะเวลาทำความสะอาด ของพนักงานเก็บขยะ รวมถึงเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และต้องเสียเวลาคัดแยกขยะ แต่หากเรามีจริยธรรมคือความดีงาม เราจะเลือกทิ้งขยะให้ลงถังและถูกประเภท ก็คือการเริ่มต้นด้วยความถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา” แต่ทั้งสองข้อมีข้อดี และข้อเสียด้วยในเวลาเดียวกัน แนวคิดนี้จะแสดงให้เห็นโดยยกตัวอย่างเรื่องการจัดการขยะมาเป็นแนวคิดในการศึกษาโดยแสดงให้เห็นดังนี้ (ภาพที่ 5)
จากภาพที่ 5 จะแสดงให้ เห็นว่า การที่คนเราจะใช้ “จริยธรรม” ได้นั้นยากมาก เพราะก่อนจะเกิดจริยธรรมเราจะต้องรู้และเข้าใจหลักการคุณงานความดีต่าง ๆ เมื่อเรารู้แล้ว ต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝน บ่มเพาะเป็นเวลายาวนาน สังเกตได้จากรูปภาพ (ภาพทางฝั่งซ้าย กราฟบน) กว่าจะติดเป็นนิสัยได้ ซึ่งผลที่ตามมาคือ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี มีประสิทธิภาพ ใช้งบประมาณน้อยใช้ระยะเวลาอันสั้น( ภาพทางฝั่งขวากราฟบน) แต่ในทางกลับกัน “การใช้ข้อกำหนด กฎหมาย และนโยบาย” เราอาจจะรู้แค่เรื่องกฎหมาย นโยบายอย่างเดียว สังเกตได้ว่า การสะสมกระบวนการทางความคิดในภาพน้อยมาก (ภาพทางฝั่งซ้าย กราฟล่าง) แต่ผลที่ตามมาคือ
– บางคนอาจจะเลือกทำตาม เพราะกลัวกฎหมาย แต่ไม่ได้เกิดจากจิตใต้สำนึก
– บางคนไม่ทำตาม เพราะเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายอาจจะไม่เข้มแข็งมากพอ หรืออาจจะมีผู้ดูแลกฎหมาย หรือเจ้าหน้าที่ด้านนี้น้อยกว่าผู้กระทำความผิด “สัดส่วนคนทำงาน กับสัดส่วนประชากรในประเทศ ไม่สอดสมดุลกัน” จริงหรือเปล่า
แล้วภาระทั้งหมดอาจจะตกเป็นหน้าที่ของใครคนใด คนหนึ่ง ทำให้ลำบากมากต่อการจัดการให้สำเร็จ แล้วต่อมาเราก็ต้องสร้างการรับรู้ หรือเราอาจจะรียกว่า “การรับรู้ และการมีส่วนร่วม” ในการชักชวนประชาชนทั่วไป แต่ก็ต้องใช้จบประมาณในการจัดกิจกรรม รณรงค์ ทำสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อชักชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ก็ใช้กับคนบางกลุ่ม หรืออาจใช้ไม่ได้กับคนบางคน
สุดท้ายในความคิด “ผู้เขียน” เป็นไปได้ไหมที่เราจะไปเพิ่มคนมีจริยธรรมมากกว่า การเพิ่มกฎหมายที่เข้มงวด แต่ทางผู้เขียนก็ยอมรับว่า ในปัจจุบันการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นิสัย คนบางกลุ่มที่เข้าทำมานานมันยากมาก เพราะเราเกิดจากร้อยพ่อ พันแม่ มีอาจจะเข้าใจพฤติกรรม หรือเปลี่ยนใจเข้าครบได้ทุกคน เราอาจจะต้องเพิ่มความเข้มงวดของกฎหมายไปด้วย แต่ก็ต้องควบคู่กับการปลูกฝังจริยธรรมในใจโดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเช่น การแทรกหัวข้อสิ่งแวดล้อม ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมศึกษา วิทยาศาสตร์ท้องถิ่นที่มีอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน สร้างชมรมด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ขึ้นมา การสร้างตั้งแต่วัยเด็กนั้นมีคุณค่าเพราะเขาจะมี กำแพงทางความคิด และ ความคิดที่ยึดติด (Fixed Mindset) ที่น้อยกว่าผู้ใหญ่นั้นเอง
“เหล็กที่ตีนานอาจจะใช้เวลานาน แต่อาจจะหักยากกว่า เหล็กที่ตีมาน้อย แต่หัก แล้วต้องเสียเวลาไปซ่อมใหม่”
โดยปกติมนุษย์เราจะมีแนวความคิด 2 กลุ่มคือ ความคิดที่ยึดติดว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Fixed Mindset) ความคิดที่เชื่อว่าเราสามารถเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องได้ (Growth Mindset) แต่จะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะความคิดที่ยึดติด (Fixed Mindset) มักจะคิดแบบตีกรอบกับความคิดของตัวเองมากเกินไป ไม่ยืดหยุ่น จนในที่สุด เราจะไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้คล้ายกับแก้วชาที่มีน้ำชาเต็มแก้วจนล้นเอ่อ ส่วนความคิดที่พร้อมเรียนรู้ (Growth Mindset) เป็นความคิดที่เชื่อมั่นในเรื่องที่ว่าทุกสิ่งเรียนรู้และพัฒนาได้ และกล้าคิดต่อยอดจากความคิดเดิม คนกลุ่มนี้มักจะคิดอะไรที่แปลกใหม่จนสามารถนำไปต่อยอดสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
แล้วเราควรมีความคิดอะไรมากกว่ากัน ระหว่าง ความคิดที่ยึดติด (Fixed Mindset) กับ ความคิดที่พร้อมเรียนรู้ (Growth Mindset) ?
เป็นคำถามที่น่าสนใจ **ในมุมมองของเรา** หากเรามีความคิดที่ยึดติด (Fixed Mindset) เราจะเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ยากมาก เพราะเราจะยึดติดกับสิ่งที่เป็นอยู่ แต่ในทางกลับกันหากเรามี ความคิดที่พร้อมเรียนรู้ (Growth Mindset) เราจะคิดไรก็ตามที่อาจจะเป็นความฝันตามจิตนาการ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ขึ้นมา จนอาจจะกลายเป็นนวัตกรรมได้ ดังนั้นเราควรใช้ทั้ง 2 ความคิด แต่เน้นการใช้ ความคิดที่พร้อมเรียนรู้ (Growth Mindset) นี้เพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ เพื่อสร้างแนวทางใหม่ เครื่องมือใหม่ แต่ก็ต้องใช้ ความคิดที่ยึดติด (Fixed Mindset) เล็กน้อยเพื่อให้สิ่งที่เราคิดสามารถสามารถเป็นไปได้ในโลกความเป็นจริง
แล้วความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)จะช่วยสิ่งแวดล้อมยังไง ?
ความคิดสร้างสรรค์คือรูปแบบความคิดที่ก้าวข้ามขีดจำกัดที่มีอยู่นำไปสู่สิ่งที่สร้างสรรค์กว่า ซึ่งจะช่วยให้เรารู้จักการพัฒนาและต่อยอดความรู้ที่มีอยู่เดิม หรือนำความรู้ความสามารถของตัวเองที่ถนัดนำมาใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ และเราเต็มใจที่จะทำมันเต็มที่เพราะ มันสิ่งที่เราตั้งใจทำจากความสามารถ เฉพาะตัวของเรา เป็นการใช้หลักการ การบูรณาการ (Integration) หมายถึง การประสานกลมกลืนกันของแผน กระบวนการ ยกตัวอย่างเช่น
หากเราเป็นคนที่ชอบการออกแบบ หรืองานศิลปะ ออกแบบผลิตภัณฑ์ เราสามารถใช้ หลักการ Eco-design ในการออกแบบ หรือสร้างผลิตภัณฑ์ โดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้วัสดุที่ต้องใช้พลังงานมาก หรือวัตถุดิบมากในการผลิตการเปลี่ยนวัตถุ ยกตัวอย่างเข่น บรรจุภัณฑ์อาหาร มีหน้าที่เอาไว้ใส่อาหาร อายุการใช้งานสั้น เราก็อาจจะออกแบบโดยการใช้กระดาษที่ย่อยสลายง่ายกว่าการใช้โฟมที่มีอายุการใช้งาน
แนวรั้วจักรยานที่เป็นเสาเหล็กทั่วไป แต่หากในเขตพื้นที่คนไม่พลุกพล่าน อาจเปลี่ยนเป็นรั้วสีเขียวซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว ให้เกิดความทัศนียภาพที่สวยงาน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกด้วย
ภาพที่ 8 เปลี่ยนแนวรั้วทางปั่นจักรยานเป็นจากเสา พืชสีเขียว เพิ่มพื้นที่สีเขียว หรืออาจเปลี่ยนพืชไม้ดอกเป็นจุดถ่ายรูปก็ได้
5 เครื่องมือทางความคิดไม่ว่าจะเป็นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง,กฎแรงดึงดูด,การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking),จริยธรรมและกฎหมาย และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) สามารถนำไปปรับใช้เพื่อมองปัญหาอย่างเข้าใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด รวมถึงต่อยอดสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อสร้างเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตต่อไป