ชื่อไทย                     หูกวาง

ชื่อท้องถิ่น                โขน, โคน (นราธิวาส), ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล)

ชื่อวิทยาศาสตร์        Terminalia catappa L.

ชื่อวงศ์                    COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร

ลักษณะใบ ใบหูกวางจัดเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวอ่อนเมื่อแตกใบใหม่ และเมื่อแก่จะมีสีเหลืองถึงน้ำตาล ใบจะแตกเรียงสลับบริเวณปลายกิ่ง มีรูปไข่กลับด้าน กว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ปลายใบมีติ่งแหลม ส่วนโคนใบมีลักษณะสอบแคบ เว้า และมีต่อม 1 คู่ แผ่นใบมีลักษณะหนา และมีขนนุ่มปกคลุม ผลัดใบในฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน

ลักษณะดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล

ลักษณะผล ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี ป้อม และแบนเล็กน้อย ความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเปลือกผลสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองออกน้ำตาล และเมื่อแห้งจะเป็นสีดำคล้ำ และเมื่อเนื้อเปลือกหลุดออกจะเห็นเป็นเส้นใยกระจุกตัวแน่นทั่วผล

ระยะการออกดอกติดผล

ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน

เขตการกระจายพันธุ์

ทวีปแอฟริกา อเมริกา เอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีถิ่นกำเนิดจากเอเชียเขตร้อนไปยังออสเตรเลียเหนือ และโปลินีเซียเป็นพันธุ์ไม้ในป่าชายหาดที่พบขึ้นกระจายตามชายฝั่งทะเล

การใช้ประโยชน์

เนื้อไม้เป็นสีแดงมีเสี้ยนไม้ละเอียด สามารถขัดชักเงาได้ดี นำไปใช้ทำเรือ

เปลือกและผล ใช้ฟอกหนัง ย้อมผ้า และย้อมหวาย

ใบแห้งหมักนิยมใช้เลี้ยงปลา เพราะช่วยให้สภาพน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่างสูงขึ้น

แหล่งข้อมูล : ฐานข้อมูลพรรณไม้ อุทยานหลวงราชพฤกษ์

โครงการพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา