ชื่อไทย ข่อย (Siamese rough bush, Tooth brush tree)
ชื่อท้องถิ่น กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) ส้มพอ (เลย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper Lour.
วงศ์ MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ แน่นทึบ ลำต้นมักแตกกอ เปลือกนอกสีเทาอมขาว ค่อนข้างเรียบ หรือแตกหลุดล่อนเป็นแผ่นบางๆ มีน้ำยางสีขาว
ลักษณะใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน ยาวได้ถึง 13 เซนติเมตร โคนใบสอบทู่ ขอบใบจักฟันเลื่อย ปลายใบแหลม แผ่นใบสาก
ลักษณะดอก ดอกแยกเพศร่วมต้น ดอกเพศผู้สีเหลืองอ่อน ดอกเพศเมียสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกแน่นที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง บานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 – 1 เซนติเมตร กลีบรวม 4 กลีบ
ลักษณะผล ผลมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปทรงกลม หรือเป็นสองพูเล็กๆ เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 – 8 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเขียวอ่อนเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม
ระยะการออกดอกติดผล
ออกดอกเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม ผลแก่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน
เขตการกระจายพันธุ์
พบในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ภูฏาน บังกลาเทศ จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่า ที่โล่ง หรือบนเขาหินปูน ที่ความสูงถึงประมาณ 700 เมตร จากระดับน้ำทะเล
การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ หรือไม้ดัด
ราก: ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ฆ่าพยาธิ
เนื้อไม้: ทุบใช้แปรงฟันทำให้ฟันทน แก้เหงือกอักเสบ
ใบ: แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบายอ่อนๆ
ผล: รับประทานได้ มีรสหวาน
เมล็ด: ช่วยขับลมในลำไส้
แหล่งข้อมูล: สำนักงานหอพรรณไม้ – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0008″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นข่อย”]