ชื่อไทย มะม่วงป่า (-)
ชื่อท้องถิ่น มะม่วงกะล่อน (ภาคกลาง) มะม่วงเทียน (ประจวบคีรีขันธ์) มะม่วงขี้ใต้ (ภาคใต้) มะม่วงเทพรส (ราชบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera caloneura Kurz
วงศ์ ANACARDIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะต้น ไม้ต้น ขนาดกลาง สูง 20 – 25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มสูงถึงแผ่กว้าง ต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องเปลือกนอกสีน้ำตาลปนเทา แตกแบบสี่เหลี่ยม เปลือกในสีเหลืองปล่อยทิ้งไว้จะเป็นสีน้ำตาลดำ
ลักษณะใบ ใบเดี่ยว เรียงแบบสลับหรือเวียนสลับ ใบรูปหอกขอบขนาน โคนมนหรือแหลม ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม กว้าง 3.5 – 8 เซนติเมตร ยาว 4.5 – 22 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยง ใบอ่อนสีม่วงแดง
ลักษณะดอก ช่อแยกแขนง ตั้งขึ้นคล้ายช่อฉัตร ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่มีสมบูรณ์เพศ (เกสรฝ่อ) เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 5 อัน ดอกมีกลิ่นหอม
ลักษณะผล ผลมีเนื้อเมล็ดเดียวแข็ง สีขาวหรือเหลือง มีลักษณะแบน ผลดิบมีสีเขียว เมื่อผลแก่มีสีเหลือง
ระยะการออกดอกติดผล
ออกดอกเดือนธันวาคม – เดือนกุมภาพันธ์ ติดผลหลังออกดอก
เขตการกระจายพันธุ์
ในประเทศไทยสามารถพบได้ตามป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ และป่าดิบแล้ง
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้: ใช้ทำฟืน ทำโครงสร้างส่วนต่างๆ ของบ้าน เช่น ฝาบ้าน
เปลือก: เปลือกด้านในใช้เป็นสีย้อมผ้า
ใบ: ใบอ่อนรับประทานเป็นผักสดได้
ผล: ผลดิบและผลสุก สามารถนำมารับประทานได้
แหล่งข้อมูล: กรมป่าไม้
[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0022″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นมะม่วงป่า”]