ปรับทัศนคติใหม่ สู่ชีวิตที่ดีกว่า เพื่อโลกที่ยั่งยืน

ทัศนคติสู่ชีวิตที่ยั่งยืน

การตัดสินใจและกระทำของมนุษย์ ถูกกำหนดโดยภาพความเข้าใจของมนุษย์ที่มีต่อโลก และคนจำนวนมากมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับทรัพยากรที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละวัน ด้วยความเชื่อว่า โลกของเราจะมีทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น และจะมีเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เสมอไป นั่นคือ ทรัพยากรที่เราจะมีทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น และจะมีเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เสมอไป นั่นคือ ทรัพยากรที่เราจะนำมาใช้ได้มีอยู่อย่างจำกัด มนุษย์จะสามารถใช้ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้ เมื่อมีความเชื่อเช่นนี้ จะทำให้ขาดความระมัดระวังในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ออกมาใช้ประโยชน์ได้ เมื่อมีความเชื่อเช่นนี้จะทำให้ขาดความระมัดระวังในการใช้ทรัพยากรและจะมองไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นเหตุให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ลักษณะดังกล่าวได้แก่ การใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเลย ทั้งผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ มีการใช้ทรัพยากรในการผลิตมากเกินจำเป็น มีของเหลือทิ้งจากการผลิตมาก ไม่มีการจัดการกากหรือเศษเหลือจากการผลิตอย่างเหมาะสม

จากความเชื่อและความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว เป็นเหตุให้มีการสูญเสียทรัพยากรและเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหลากหลายด้าน ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนี้ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนและแก้ไขให้ถูกต้อง

ให้เกิดความเข้าใจว่า ทรัพยากรในโลกนี้มีอยู่อย่างจำกัด ทรัพยากรทั้งหมดไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เท่านั้น จึงควรระมัดระวังในการใช้มิให้มีการสูญเสีย และจะต้องอยู่อย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของทุกชีวิตร่วมกันเท่านั้น จึงควรระมัดระวังในการใช้ มิให้มีการสูญเสีย และจะต้องใช้อย่างยั่งยืน

เพื่อประโยชน์ของทุกชีวิตร่วมกันเท่านั้น จาการปรับความเข้าใจให้ถูกต้องนี้เอง จะให้วิถีการคิดการตัดสินใจ และการกระทำของมนุษย์เปลี่ยนไป นั่นคือ จะมีความระมัดระวังในการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป โดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจและพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรจากการคิดที่ทำให้มีการใช้ทรัพยากรเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเลย ไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะสั้นๆ เท่านั้น โดยจะทำให้มีเวลาในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะของสังคมที่ยั่งยืน และมีความห่วงใยต่อโลกเพิ่มมากขึ้นนั้น

สถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่เกิดขึ้นในอดีตและมีผลสืบเนื่องถึงปัจจุบัน ทำให้มีปริมาณของเสียและมีการสูญเสียทรัพยากรมาก ดังตัวอย่างจากประเทศอุตสาหกรรม เช่น ประเทศอเมริกา ที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างไม่เหมาะสม พบว่าชาวอเมริกันได้ทิ้ง

  • โลหะจำพวกอลูมิเนียมเป็นปริมาณมากเพียงพอที่จะใช้สร้างเครื่องบนของสายการบินพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกาทั้งหมดได้ทุก 3 เดือน
  • ขวดแก้วมากพอที่จะก่อตัวได้เท่าอาคารเวิลล์เทรดเซ็นเตอร์ ของเมืองนิวยอร์กที่มีความสูงถึง 412 เมตร ได้ในทุก 2 สัปดาห์
  • ยางรถยนต์ในปริมาณเพียงพอที่จะพันรอบโลกได้ถึง 3 รอบในแต่ละปี
  • จานแลถ้วยแก้วชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเลย เป็นปริมาณมากเพียงพอที่จะใช้เสิร์ฟอาหารแก่คนทั่วโกพร้อมกันได้ปีละ 6 ครั้ง
  • ใบมีดโกนหนวดจำนวน2 พันล้านชุด ปากกาลูกลื่น 1600ล้านด้าม และไฟแช็คจุดบุหรี่ 500 ล้านอันในแค่ละปี
  • ขวดพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ชั่วดมละ สองล้านห้าแสนขวด
  • แคตตาล็อคแสดงสินค้า จำนวน 14 ล้านเล่ม และสิ่งพิมพ์ที่ถูกส่งทางไปรษณีย์ โดยไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับเท่าที่ควรอีก สามหมื่นแปดพันล้านชิ้นต่อปี

การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ไม่เพียงแต่ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ต้องหมดไปอย่างรวดเร็ว และมีการใช้พลังงานมากเกินความจำเป็นเท่านั้น แต่ยังเป็นภาระในการจัดหาที่รองรับ ซึ่งหมายถึงการสูญเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการพักผ่อนหย่อนใจด้วย นอกจากนี้ปริมาณมูลฝอยที่เกิดจากการทิ้งเป็นปริมาณมากเหล่านี้ ยังเป็นภาระในการกำจัด มีค่าใช้จ่ายในการกำจัดอีกด้วย

     แนวทางแก้ไขปัญหา

การปรับความเข้าใจและโลกทัศน์ที่มีต่อโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ให้ถูกต้อง จากความเข้าใจเดิมที่คิดว่า มนุษย์เป็นศูนย์กลางของสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรมีอยู่อย่างเพียงพอต่อการให้ประโยชน์ของมนุษย์ตลอดไป ไปสู่ความเข้าใจใหม่ที่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสิ่งมีชีวิต และเกื้อกูลต่อการคงอยู่และสมดุลของสิ่งแวดล้อมให้ยาวนานที่สุด การปรับเปลี่ยนนี้จะต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

บทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค เพื่อการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจาก ความเข้าใจที่ไม่บรรลุผล จึงควรเสริมสร้างศักยภาพและบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ในการลดปัญหาและร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีแนวทาง ดังนี้

  • เปลี่ยนจากการใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดและทำให้เกิดมลพิษมาก ไปสู่การใช้พลังงานที่มีมลพิษน้อยลง และพลังงานที่ทดทนใหม่ได้
  • ไม่ปล่อยให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรที่ทดแทนใหม่ได้ ในทุกขั้นตอนของการใช้ประโยชน์ แลจะต้องควบคุมการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ ให้มีปริมาณนอยกว่าความสามารถในการทดแทนใหม่ได้
  • ใช้ซ้ำและหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ อย่างน้อยร้อยละ 80 ของของเสียที่ทิ้งไป
  • ลดปริมาณการใช้และการสูญเสียวัสดุ ด้วยกาผลิตสิ่งของที่มีอายุการใช้งานทนทาน และง่ายต่อการใช้ซ้ำ ซ่อมและหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่