ชี้จุดรั่วไหลพร้อมแนวทางแก้ไขการใช้พลังงานในอาคาร

https://adeq.or.th/wp-content/uploads/2018/07/ชี้จุดรั่วไหลพร้อมแนวทางแก้ไขการใช้พลังงานในอาคาร

ชี้จุดรั่วไหลพร้อมแนวทางแก้ไขการใช้พลังงานในอาคาร

  1. การเปิดประตู – หน้าต่างทิ้งไว้ขณะที่มีการปรับอากาศ
  2. ปรับอากาศห้องที่รั่ว
  3. ติดตั้งและใช้พัดลมระบายอากาศไม่เหมาะสม
  4. ติดตั้งและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในที่ที่มีการปรับอากาศ
  5. เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้านอกเวลาทำการ
  6. ปล่อยน้ำรั่วไหลเปลืองทั้งน้ำเปลืองทั้งไฟ
  7. ขึ้นลงชั้นเดียวกดลิฟท์ทุกครั้ง

 

  1. การเปิดประตู – หน้าต่างทิ้งไว้ขณะที่มีการปรับอากาศ

ช่องเปิดของห้องที่มีการปรับอากาศจะทำให้มีการสูญเสียความเย็นและเพิ่มการถ่ายเท     ความร้อนจากภายนอกเข้าสู่พื้นที่ที่มีการปรับอากาศ เป็นเหตุให้เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้นและใช้ไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น นอกจากนี้จะทำให้มีอายุการใช้งานสั้นลง และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเพิ่มมากขึ้น

  • ส่วนที่มีการสูญเสียมาก
  1. ประตูเข้า – ออก ของห้องที่มีการปรับอากาศ
  2. หน้าต่าง ช่องแสงและช่องลมที่มีการเปิด – ปิดบ่อยครั้ง
  3. หน้าต่างและช่องลมที่มีม่านปิด ผ้าม่านที่ปิดจะทำให้ไม่เห็นว่าช่องลมและหน้าต่างถูกเปิดทิ้งไว้
  4. ประตูเข้า – ออก ระหว่างห้องทำงานกับห้องน้ำ และกับห้องอื่น
  5. ประตูช่องบันไดระหว่างชั้น
  6. ประตูลิฟท์
  • แนวทางแก้ไข
  1. ติดตั้งข้อความเตือนให้มีการเปิดประตู ช่องแสง ช่องลมและหน้าต่าง
  2. ติดตั้งอุปกรณ์ เปิด – ปิด ประตูอัตโนมัติ เพื่อช่วยปิดประตูทั้งชนิดบานเปิดและบานเลื่อนเพื่อลดการสูญเสียความเย็นและการถ่ายเทความร้อน
  3. ติดตั้งประตูหน้าลิฟท์
  1. ปรับอากาศห้องที่รั่ว

ช่องเปิดในห้องที่มีการปรับอากาศจะทำให้มีการสูญเสียความเย็นและมีการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่พื้นที่ที่มีการปรับอากาศเป็นเหตุให้มีการสูญเสียพลังงาน และใช้ไฟฟ้าในการ      ปรับอากาศเพิ่มมากขึ้น ทำให้การควบคุมอุณหภูมิมีความยุ่งยากและขาดประสิทธิภาพ การทำงานอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นของเครื่องปรับอากาศจะทำให้มีการสึกหรอ   ลดอายุการใช้งานและมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมากขึ้น

  • ส่วนที่มีการสูญเสียมาก
  1. ช่องเปิดบนผนังที่เคยติดตั้งพัดลมระบายอากาศ
  2. ช่องที่ติดตั้งพัดลมระบายอากาศที่ปิดไม่มิดชิด
  3. ชายประตูที่สูงจากพื้น เนื่องจากการใช้บานประตูผิดขนาด การยุบของพื้น การรื้อ – ถอด พรมพื้นห้อง
  4. บานประตู และหน้าต่างตกจนไม่สามารถปิดได้มิดชิด
  5. ช่องลม และช่องระบายอากาศที่ปิดไม่สนิท
  6. ช่องเปิดบนผนังที่เกิดจากการ แตกร้าว โดยรอบวงกบ การทรุดตัวของพื้น หรือคาน
  7. ช่องเปิดของการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเดิม
  8. ช่องเปิดบนฝ้าเพดานจากการติดตั้งอุปกรณ์แสงสว่าง
  9. ช่องเปิดของฝ้า – เพดานจากเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานและการรั่วซึมของน้ำจากหลังคา
  10. ลูกบิดและกลอนประตู หน้าต่าง ช่องลม ชำรุดจนไม่สามารถปิดให้มิดชิดได้
  11. ช่องเปิดของกระจกเคาน์เตอร์
  12. ช่องเปิดของการติดตั้งท่อประปา ทางเดินสายไฟ ท่อน้ำยาทำความเย็น และท่อระบายน้ำทิ้งออกจากห้องที่มีการปรับอากาศ
  13. ช่องประตูติดต่อระหว่างห้องที่เป็นบานเกล็ด
  14. ช่องหน้าต่างบานเกล็ด
  • แนวทางแก้ไข
  1. ตรวจหาและปิดช่องเปิดบนผนัง ฝ้าเพดาน และพื้นให้มิดชิด
  2. ปรับซ่อมบานประตูเพื่อลดช่องเปิดชายประตู
  3. ปรับซ่อมบานพับ ลูกบิด และกลอนประตู หน้าต่าง ช่องลม ให้สามารถใช้งานและปิดบานเปิดได้สนิท
  4. ปิดช่องพัดลมระบายอากาศ และซ่อมพัดลมระบายอากาศให้ปิดได้สนิท
  5. ติดตั้งคำเตือนให้ปิดช่องกระจกเคาน์เตอร์ให้สนิททุกครั้งเมื่อไม่มีการใช้งาน

  1. ติดตั้งและใช้พัดลมระบายอากาศไม่เหมาะสม

พัดลมระบายอากาศที่ติดตั้งในห้องที่มีการปรับอากาศจะทำให้เกิดการสูญเสียความเย็น เครื่องปรับอากาศต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ความเย็นที่ต้องการ มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการปรับอากาศและซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การใช้พัดลมระบายอากาศยังเป็นเหตุให้มีการใช้ไฟฟ้าในห้องที่มีการปรับอากาศเพิ่มมากขึ้นเกิดความจำเป็น

  • ส่วนที่มีการสูญเสียมาก
  1. การเปิดพัดลมระบายอากาศขณะที่มีการปรับอากาศ
  2. การเปิดพัดลมระบายอากาศทิ้งไว้ขณะที่ไม่มีการใช้ห้อง
  3. การเปิดพัดลมระบายอากาศขณะที่ช่องเปิดของห้องถูกปิดไว้ทั้งหมด
  • แนวทางแก้ไข
  1. งดการใช้พัดลมระบายอากาศขณะที่มีการปรับอากาศ
  2. ติดตั้งคำเตือนให้มีการปิดพัดลมระบายอากาศทุกครั้งเมื่อไม่ต้องการการระบายอากาศ
  3. หลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ปิดกั้นทางไหลเวียนของอากาศเพื่อช่วยเพิ่มการถ่ายเทอากาศ
  4. ใช้ช่องเปิดต่าง ๆ บนผนังเพื่อระบายอากาศแทนการใช้พัดลมระบายอากาศ
  1. ติดตั้งและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในที่ที่มีการปรับอากาศ

            เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้ามากก็จะมีการระบายความร้อนออกมามาก ความร้อนเหล่านี้จะเป็นภาระในการปรับอากาศ ทำให้เครื่อง        ปรับอากาศทำงานมากขึ้น และใช้เวลามากขึ้นในการทำให้พื้นที่มีความเย็นตามที่ต้องการ เป็นการ    สิ้นเปลืองพลังงาน เพิ่มการสึกหรอและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้การใช้เครื่องไฟฟ้ายังทำให้คุณภาพอากาศในพื้นที่ที่มีการปรับอากาศลดลงอีกด้วย

  • ส่วนที่มีการสูญเสียมาก
  1. ตู้เย็น ตู้แช่ ตู้แช่น้ำเย็น
  2. หม้อต้มน้ำอัตโนมัติ กาต้มน้ำ ไมโครเวฟ หม้อ กระทะและเตาหุงต้มทุกชนิด
  3. เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องส่ง – รับโทรสาร อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด
  4. เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องเล่นแผ่นวีดีทัศน์
  5. พัดลม เครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า
  6. ไดร์เป่าผม เตารีด เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องทำน้ำอุ่น
  7. อุปกรณ์แสงสว่าง ได้แก่ หลอดบัลลาสต์ คาปาซิเตอร์ อิกนิเตอร์
  8. คอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ผล
  • แนวทางแก้ไข
  1. ลดและหลีกเลี่ยงการติดตั้งและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดความร้อนมากในห้องที่มีการปรับอากาศ
  2. ลดและหลีกเลี่ยงการติดตั้งและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในห้องที่มีการปรับอากาศ
  3. งดการติดตั้งและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไปนี้ในห้องที่มีการปรับอากาศ
    • หลอดไส้ หลอดทังสเตนฮาโลเจน หลอดฮาโลเจน และหลอดที่มีความร้อนสูงทุกชนิด
    • ตู้เย็น เตา กระทะ หม้อ และอุปกรณ์หุงต้ม ปิ้ง ย่าง ทุกชนิด
  4. ติดตั้งและแสดงเครื่องหมายและข้อความเชิญชวนให้หลีกเลี่ยงและลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ที่มีการปรับอากาศ
  1. เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้านอกเวลาทำการ

            เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดถูกเปิดทิ้งไว้นอกเวลาทำการที่ไม่มีใครได้ใช้ประโยชน์ เป็นเหตุให้มีการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยไม่ได้ประโยชน์ และเกิดการสึกหรอ ลดอายุการใช้งาน และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น ความเคยชินที่ปล่อยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าถูกเสียบปลั๊กและเปิดทิ้งไว้อาจทำให้เกิดอัคคีภัย ที่จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียในวงกว้างได้อีกด้วย การเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้นอกเวลาทำการเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานโดยไม่ได้ทำให้เกิดผลผลิตใด ๆ

  • ส่วนที่มีการสูญเสียมาก
  1. ตู้แช่น้ำเย็น ตู้เย็น หม้อต้มน้ำอัตโนมัติ
  2. พัดลมตั้งพื้น พัดลมตั้งโต๊ะ พัดลม ฝ้า เพดาน และพัดลมระบายอากาศที่ลืมปิด ภายหลังเลิกงาน
  3. คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องรับ – ส่งโทรสาร
  4. เครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะขนาดใหญ่เพื่อรองรับการใช้พื้นที่ของบุคลากรจำนวนน้อย
  5. อุปกรณ์แสงสว่างทุกชนิดทั้งที่ให้แสงสว่างพื้นที่ใช้สอยและแสงสว่างทำงานที่โต๊ะ รวมทั้งแสงสว่างในห้องน้ำ
  6. การเสียบปลั๊ก เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายภาพนิ่งและเคลื่อนไหวทุกชนิดที่มีการควบคุมด้วยอุปกรณ์ควบคุมทางไกล (Remote control) ที่ขณะไม่มีการใช้เครื่องจะใช้กำลังไฟฟ้าเพื่อพร้อมรับสัญญาณจากอุปกรณ์ควบคุมทางไกล
  7. ปั๊มน้ำ
  8. อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทุกชนิด
  • แนวทางแก้ไข
  1. หลีกเลี่ยงความจำเป็นในการใช้ตู้เย็นนอกเวลาทำการ ด้วยการไม่เก็บรักษาอาหารไว้ในตู้เย็นนอกเวลาทำการ
  2. จัดให้มีการควบคุมการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดนอกเวลาทำการ รวมทั้งการถอดปลั๊ก เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้อุปกรณ์ควบคุมทางไกล
  3. จัดให้มีการตรวจสอบการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดนอกเวลาทำการเพื่อป้องกันและลดการสูญเสียพลังงานและการเกิดอัคคีภัย
  4. จัดให้มีพื้นที่ทำงานขนาดเล็กเพื่อรองรับการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการที่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศรวมหรือที่มีขนาดใหญ่เกินจำนวนคนที่ปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ
  5. ตรวจสอบและซ่อมจุดจ่ายน้ำ การจัดส่งน้ำและกักเก็บน้ำ ทุกที่เพื่อป้องกันและลดการสูญเสียรั่วไหลของน้ำใช้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อลดการทำงานของปั๊มน้ำนอกเวลาทำการ

การประหยัดพลังงานในอาคาร 02

  1. ปล่อยน้ำรั่วไหลเปลืองทั้งน้ำเปลืองทั้งไฟ

            อาคารส่วนใหญ่ติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อเพิ่มแรงดันในการจัดส่งน้ำไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคาร รวมทั้งที่กักเก็บน้ำในอาคาร ประกอบกับการใช้งานอุปกรณ์จ่ายน้ำ ท่อส่งน้ำ และที่กักเก็บน้ำ ที่มีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน และการขาดการซ่อมบำรุงที่เหมาสม ทำให้แรงดันน้ำที่เพิ่มมากขึ้นจากการติดตั้งและใช้เครื่องปั๊มน้ำ เป็นเหตุให้มีการสูญเสียเสียน้ำจากการรั่วไหลที่จุดจ่ายน้ำ สายส่ง และที่เก็บกักน้ำของอาคาร (ทั้งภายในและภายนอก) เมื่อมีการสูญเสียน้ำ การทำงานของปั๊มน้ำก็เพิ่มมากขึ้น มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น มีการสึกหรอ และมีค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง เก็บกัก และใช้น้ำมากกว่าความจำเป็น เมื่อมีการชำรุดและรั่วไหลของน้ำที่จุดจ่ายน้ำจะมีการสูญเสียน้ำตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งในวันทำงานและวันหยุด เป็นเหตุให้ปั๊มน้ำ ทำงานอย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกเวลาทำการ เป็นภาระค่าใช้จ่ายของหน่วยงานเป็นอย่างมาก

  • ส่วนที่มีการสูญเสียมาก
  1. สุขภัณฑ์ น้ำสะอาดที่ใสจะตรวจสอบการรั่วซึมได้โดยยากและการรั่วซึมบางลักษณะถึงจะมีปริมาณมากแต่ก็ไม่มีเสียงให้ผู้ใช้ได้ทราบ
  2. จุดจ่ายน้ำชำระล้างทั้งในและนอกอาคาร รวมทั้งน้ำที่ใช้รดน้ำต้นไม้ภายในและโดยรอบอาคาร ที่การติดตั้งไม่ได้เผื่อการจ่ายน้ำที่มีแรงดันสูงจากการเพิ่มแรงดันของปั๊มน้ำ
  3. เครือข่ายการจัดส่งน้ำทั้งภายในและภายนอกอาคาร ที่มีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน การใช้อย่างไม่เหมาะสม รวมถึงกิจกรรมก่อสร้าง ต่อเติม และขนส่งที่เป็นเหตุให้เกิดการแตกหักเสียหายของท่อ ข้อต่อ ข้องอ และอุปกรณ์ติดตั้งระบบการจัดส่งน้ำ
  4. การเก็บกักน้ำเพื่อสำรองน้ำ และเพิ่มแรงดันในการจัดส่งน้ำ ภาชนะบรรจุและสิ่งก่อสร้างที่เก็บน้ำ อาจมีการรั่วซึม จากการผลิตที่ขาดคุณภาพ และการเสื่อมสภาพจากอายุการใช้งาน กรณีที่เป็นถังเก็บจะเห็นได้ชัด แต่การติดตั้งถังเก็บไว้ส่วนบนสุดของอาคารอาจจะถูกมองข้ามหรือเมื่อมีปัญหาาอาจจะไม่มีการตรวจพบโดยง่าย โครงสร้างคอนกรีตที่รองรับน้ำ ก็เช่นเดียวกันที่ฝังไว้ใต้ดินจะง่ายต่อการทำความสะอาด แต่ยากต่อการตรวจสอบการรั่วไหล ขณะที่ติดตั้งบนที่สูงจะง่ายต่อการตรวจสอบการรั่วไหล แต่ยุ่งยากในการดูแลทำความสะอาด ปัญหาสำคัญของการสูญเสียน้ำในการเก็บกักน้ำ มักจะเกิดจากอุปกรณ์ควบคุมการไหลของน้ำเข้าสู่ภาชนะหรือถึงเก็บกักน้ำ ชำรุดในที่นี้ได้แก่ ลูกลอย ซึ่งอยู่ส่วนในของการเก็บกักน้ำจะต้องตั้งใจเปิดดูจึงจะเห็นได้
  5. การใช้น้ำที่ขาดประสิทธิภาพ จากการใช้น้ำของบุคลากรที่ปล่อยให้มีการสูญเสียหรือใช้น้ำมากเกินความจำเป็น เช่นการชำระล้าง การใช้น้ำสุขภัณฑ์ การใช้น้ำในห้องปฏิบัติการ การใช้น้ำในการผลิต การใช้น้ำในการให้บริการ การใช้น้ำเพื่อการดูแลไม้ดอกและไม้ประดับ
  6. เทคโนโลยีการใช้น้ำประสิทธิภาพต่ำ ทำให้มีการใช้น้ำมาก มีการรั่วไหลง่ายเนื่องจากคุณภาพของวัสดุ และอุปกรณ์ประกอบสุขภัณฑ์
  7. การขาดการดูแลที่เหมาะสมและต่อเนื่อง ทำให้อุปกรณ์ และเทคโนโลยีการใช้น้ำ รวมทั้งระบบจัดส่ง ชำรุด เสียหาย และมีอายุการใช้งานน้อยกว่ามาตรฐาน
  • แนวทางแก้ไข
  1. ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  2. ติดตั้งระบบจัดส่งน้ำให้เหมาะสมและถูกต้องโดยไม่ทำให้มีการเพิ่มแรงดันของน้ำในท่อส่งน้ำ และให้มีการจ่ายน้ำผ่านการเก็บกักน้ำของอาคารโดยให้เป็นไปตามแรงโน้มถ่วงเป็นหลัก
  3. จัดให้มีการตรวจสอบเครือข่ายการจัดส่งน้ำทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างสม่ำเสมอเพื่อการซ่อมบำรุง และการตรวจหาการรั่วซึมของท่อส่งน้ำ
  4. จัดให้มีการตรวจสอบการเก็บกักน้ำทั้งหมด เพื่อการซ่อมบำรุงและการป้องกันการสูญเสียน้ำจากการกักเก็บทุกขั้นตอน
  5. รณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของบุคลกร ทุกคนในการลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ
  6. เปลี่ยนเทคโนโลยีการใช้น้ำที่ขาดประสิทธิภาพ คุณภาพต่ำ และใช้น้ำสิ้นเปลือง เป็นเทคโนโลยีการใช้น้ำประสิทธิภาพสูง เมื่อหมดอายุการใช้งาน
  7. ติดตามปริมาณการใช้น้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจหาการรั่วไหล และปิดวาล์วน้ำขึ้นอาคาร นอกเวลาราชการ ระหว่างที่มีการจัดซ่อมอุปกรณ์ ท่อส่งน้ำ และเทคโนโลยี การใช้น้ำทั้งหมด เพื่อลดการรั่วไหลสูญเสีย

 

  1. ขึ้นลงชั้นเดียวกดลิฟท์ทุกครั้ง

            การขับเคลื่อนลิฟท์ในอาคารต้องใช้มอเตอร์ที่มีกำลังฉุดสูง มีกำลังแรงม้ามาก นั่นคือใช้กำลัง ไฟฟ้ามากในการเคลื่อนที่ ทั้งขึ้นและลง เมื่อมีการใช้ลิฟท์บ่อยครั้ง การใช้ไฟฟ้าก็จะมากขึ้นด้วย เมื่อหยุดลิฟท์และเคลื่อนตัวแต่ละครั้งจะสิ้นเปลืองทั้งไฟฟ้า ค่าสึกหรอ และค่าซ่อมบำรุง เมื่อมีการขึ้นลงเพียงชั้นเดียวโดยใช้ลิฟท์จึงมีผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของหน่วยงานได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าติดตั้งเริ่มแรก ค่าสึกหรอ ค่าซ่อมบำรุงและอื่น ๆ จึงได้มีการรณรงค์ให้ผู้ใช้อาคารเดินขึ้นลงแทนการใช้ลิฟท์ขึ้นหรือลงเพียงชั้นเดียว กรณีผู้ใช้ลิฟท์จะลงแต่ได้กดลิฟท์ทั้งเรียกขึ้นและลง จะทำให้ลิฟท์ขาขึ้นหยุดที่ชั้นที่ผู้ใช้ลิฟท์รออยู่ด้วย กรณีที่มีลิฟท์มากกว่าหนึ่งหน่วย อย่างน้อยลิฟท์สองหน่วยจะถูกเรียกมาในเวลาเดียวกันเพื่อจะขึ้นและจะลงทำให้มีการสิ้นเปลืองในการเรียกลิฟท์เป็นสองเท่า การลดจำนวนเที่ยวในการใช้ลิฟท์  จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายด้วย การรณรงค์ให้ใช้ลิฟท์ร่วมกัน ด้วยการรอผู้ใช้ลิฟท์คนขึ้นจะช่วยลดจำนวนเที่ยวของการใช้ลิฟท์ร่วมกัน  การรณรงค์ดังกล่าวในหลายหน่วยงานมุ่งลดจำนวนเที่ยวของการใช้ลิฟท์ และลดการใช้ลิฟท์ส่วนตัวที่ผู้ใช้ลิฟท์รีบกดปิดประตูขณะที่มีผู้อื่นกำลังเดินมาที่จะใช้ลิฟท์ไปในเที่ยวเดียวกัน หน่วยงานที่มีอาคารสูงจะมีรายจ่ายการใช้ลิฟท์    และค่าไฟฟ้าจากการใช้ลิฟท์เพิ่มมากขึ้นจากค่าไฟฟ้าเพื่อการปรับอากาศ ระบายอากาศ และเพื่อแสงสว่าง มากด้วย

  • ส่วนที่มีการสูญเสียมาก
  1. การติดตั้งลิฟท์ขนาดใหญ่เกินความจำเป็น โดยไม่แยกลิฟท์ขนของ ซึ่งมีขนาดใหญ่ และลิฟท์ขนคน ที่มีขนาดแตกต่างกันออกจากกัน ภายหลังจากการย้ายของเข้าอาคารใหม่ในระยะแรก ความจำเป็นในการใช้ลิฟท์เพื่อขนของจะลดน้อยลง ขณะที่ลิฟท์ขนคนจะมีภาระหน้าที่มากขึ้น
  2. กรณีที่มีการติดตั้งลิฟท์มากกว่า 1 หน่วย เมื่อมีการเรียกลิฟท์ได้กำหนดให้ลิฟท์หน่วยที่ไม่ได้อยู่ชั้นที่ 1 เป็นลิฟท์ที่จะถูกเรียกแต่กำหนดให้ลิฟท์ชั้นอื่น มาที่ชั้นที่มีการเรียกลิฟท์ ทั้งที่อยู่ห่างจากชั้นที่การเรียกลิฟท์มาก จะทำให้มีการสิ้นเปลืองมาก เช่น กรณีที่อาคารสูง 9 ชั้น มีลิฟท์ 2 หน่วย หน่วยหนึ่งอยู่ที่ชั้น 1 หน่วยที่สองขึ้นไปส่งคนที่ชั้น 8 และมีผู้มีความประสงค์จะใช้ลิฟท์ที่ชั้น 3 เพื่อขึ้นไปชั้น 9 เมื่อมีการเรียกใช้ลิฟท์ แทนที่ลิฟท์จากที่ 1 จะถูกเรียกขึ้นไปรับผู้จะใช้ลิฟท์ที่ชั้น 3 แต่ลิฟท์ที่อยู่ชั้นที่ 8 กลับถูกเรียกลงมาที่ชั้น 3 และรับคนขึ้นไปชั้นที่ 9 ซึ่งจะทำให้ช่วงเวลาในการใช้ลิฟท์กรณีหลังมากกว่ากรณีแรกที่ลิฟท์จากชั้นที่ 1 ขึ้นไปรับคนที่ชั้น 3 และขึ้นไปชั้นที่ 9
  3. การเลือกชนิดและขนาดของมอเตอร์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนลิฟท์ เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดภาระค่าใช้จ่ายและปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในการใช้ลิฟท์แต่ละครั้ง อาคารพาณิชย์ อาคารสูงสำนักงานหลายแห่ง ติดตั้งและตกแต่งภายในด้วยวัสดุที่ไม่เหมาะสม เป็นเหตุให้ต้องใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนที่มีกำลังแรงม้าสูง และใช้พลังงานและกำลังไฟฟ้าในการขับเคลื่อนลิฟท์มาก เช่น การปูพื้น และบุผนังลิฟท์ด้วยหินอ่อน หินแกรนิต หรือกระเบื้องชนิดต่าง ๆ เพื่อความสวยงามและกลมกลืนกับการใช้วัสดุพื้นผิวภายนอกลิฟท์ ทำให้ลิฟท์มีน้ำหนักมาก แม้ไม่มีคนภายในลิฟท์เลย (การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุพื้นผิวและตกแต่งที่มีน้ำหนักมากจะช่วยลดภาระในการขับเคลื่อนลิฟท์ ทำให้สามารถใช้มอเตอร์ที่มีขนาดสอดคล้องกับความจำเป็นในการขนคนได้มากขึ้น และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและการใช้ไฟฟ้าจากการใช้ลิฟท์แต่ละครั้งได้ด้วย)
  4. การติดตั้งอุปกรณ์แสงสว่าง และระบายอากาศภายในลิฟท์ที่ไม่เหมาะสม จะทำให้มีการใช้กำลังไฟฟ้าของลิฟท์มากและต่อเนื่อง กรณีการติดตั้งอุปกรณ์แสงสว่างประสิทธิภาพต่ำด้วยโคมแสงสว่างที่ไม่ช่วยในการสะท้อนและกระจายแสงสว่าง จะทำให้มีการสูญเสียความสว่างส่วนหนึ่ง และอาจเป็นเหตุให้มีการติดตั้งอุปกรณ์แสงสว่างมากขึ้น และใช้กำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ลิฟท์ที่ใช้กระจกฝ้ากระจายแสงสว่างจากหลอดแสงสว่าง จะให้ความสว่างน้อยกว่าลิฟท์ที่ใช้แผ่นกระจายแสงสว่างประสิทธิภาพสูง และโคมแสงสว่างสีขาวจะสะท้อนและกระจายแสงสว่างออกมาได้น้อยกว่าโคมสะท้อนแสงสีเงินหรือโคมโลหะขัดผิวมัน หรือโคมเคลือบเงิน หรือที่รู้จักกันในชื่อโคมสะท้อนแสงประสิทธิภาพสูง พัดลมระบายอากาศประสิทธิภาพต่ำ นอกจากจะทำให้สิ้นเปลือง กำลังและพลังงานไฟฟ้ามากแล้ว ยังระบายอากาศได้น้อย หรือช้า และอาจมีเสียงดัง เป็นภาระในการซ่องบำรุงและค่าไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น นอกจากนี้ลิฟท์ที่ขาดการควบคุมการเปิดและปิดอุปกรณ์แสงสว่างและพัดลมระบายอากาศขณะพักลิฟท์ จะทำให้มีสูญเสียพลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง
  5. การตกแต่งภายในลิฟท์ด้วยวัสดุพื้นผิวสีเข้มทึบแสง ผิวอ่อน เป็นริ้วรอยง่ายและดูแลรักษาได้ยากจะเป็นปัจจัยที่ทำให้มีการติดตั้งอุปกรณ์แสงสว่างมาก เพิ่มทั้งเวลาและแรงงานในการบำรุงรักษา รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน – ซ่อมวัสดุ ทำความสะอาด แรงงานและพลังงานไฟฟ้า
  6. การใช้ลิฟท์ผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั้งโดยผู้ใช้อาคารประจำและบุคคลภายนอกที่มาติดต่อหรือร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายในอาคาร เป็นเหตุให้มีการใช้ลิฟท์มากเกินความจำเป็น เป็นภาระทั้งค่าพลังงานไฟฟ้า การซ่อมบำรุง การสึกหรอและอายุการใช้งานของลิฟท์ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์พื้นที่อาคารในแต่ละชั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นประจำและบ่อยครั้งที่มีบุคคลภายนอกมาร่วมกิจกรรมด้วย การขาดการประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนและเพียงพอทั้งก่อนหน้าและในวันที่มีกิจกรรม จะทำให้มีการใช้ลิฟท์ผิดพลาดและมากกว่าความจำเป็น บุคคลภายนอกอาจเข้าใจว่าการจัดกิจกรรมจะมีที่ชั้นที่หน่วยงานตั้งอยู่ ขณะที่การจัดกิจกรรมไปจัดที่ชั้นที่มีห้องประชุม หรือบริเวณที่จะรองรับได้ เป็นเหตุให้บุคคลภายนอกที่มาติดต่อใช้ลิฟท์มากขึ้น การไม่แสดงตัวเลขชั้นที่ชัดเจน และเห็นได้โดยง่ายบริเวณหน้าลิฟท์ จะทำให้ผู้ใช้ลิฟท์หลงและใช้ลิฟท์ผิดพลาดได้อีกด้วย นอกจากนี้การไม่แสดงรายละเอียดการใช้พื้นที่แต่ละชั้นของอาคาร รวมทั้งการจัดกิจกรรมภายในอาคารแต่ละวันอย่างเพียงพอยังเป็นเหตุให้มีการใช้ผิดพลาดและสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น
  7. กรณีที่มีการติดตั้งลิฟท์หลายหน่วยในอาคารเดียวกัน และลิฟท์ทุกหน่วยใช้ในการเดินทางจากชั้นที่หนึ่งถึงชั้นสูงสุดได้เหมือนกันหมด จะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองทั้งการติดตั้ง กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า การซ่อมบำรุง การสึกหรอ และอายุการใช้งานของลิฟท์ มากเกินความจำเป็น ซึ่งลิฟท์ที่จะต้องหยุดตั้งแต่ชั้นล่างเรื่อยไปถึงชั้นบน มอเตอร์และอุปกรณ์ควบคุมจะต้องทำงานหนักต่อเนื่องกัน และทำให้การเดินทางภายในอาคารต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวมากขึ้น อีกทั้งจะทำให้ลิฟท์หยุดขณะเดินทางจากการเรียกที่ผิดพาดและไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกด้วย
  8. การกำหนดให้ลิฟท์หยุดรับและส่งคนได้ทุกชั้นนอกจากจะเป็นการไม่ส่งเสริมให้เกิดการออกกำลังกาย การมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีของผู้ใช้พื้นที่อาคารชั้นต่าง ๆ ยังทำให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า การสึกหรอ การซ่อมบำรุง อายุการใช้งาน และค่าใช้จ่ายในการใช้ลิฟท์อีกด้วย
  9. การออกแบบอาคารให้มีพื้นที่ใช้สอยร่วม และการจัดกิจกรรมไว้ที่ชั้นส่วนบนของอาคารจะเป็นเหตุให้มีการใช้พลังงานในการจัดกิจกรรมและใช้พื้นที่ดังกล่าวมาก เนื่องจากจะต้องมีการใช้ลิฟท์ขนทั้งคนและสิ่งของ ก่อนระหว่างและภายหลังการมีกิจกรรม มาก เป็นภาระการใช้ลิฟท์ ซ่อมบำรุงและพลังงานไฟฟ้าในการใช้ลิฟท์ และปั๊มน้ำมากขึ้น
  10. การใช้พื้นที่อาคารไม่เหมาะสม เป็นต้นเหตุให้มีการใช้ลิฟท์มากเกินความจำเป็นทำให้มีค่าใช้จ่ายในการใช้อาคาร พื้นที่ และลิฟท์มาก และทำให้มีการใช้พลังงานสิ้นเปลืองด้วย
  11. การกำหนดให้ประตูลิฟท์ปิดเร็วจะเป็นต้นเหตุให้มีการเปิด – ปิด ประตูลิฟท์มากขึ้น รวมทั้งจะทำให้มีการเดินทางด้วยลิฟท์มีจำนวนเที่ยวเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เป็นผลให้มีการใช้พลังงานในการเดินทางด้วยลิฟท์ ภายในอาคารเพิ่มมากขึ้น
  12. การใช้ลิฟท์เดินทางขึ้น หรือลงเพียงชั้นเดียวแทนการเดิน จะทำให้ลิฟท์ทำงานมากขึ้นมีการเดินและหยุดการเดินของมอเตอร์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนลิฟท์และประตูปิด – เปิดลิฟท์บ่อยครั้ง นอกจากจะเพิ่มการสึกหรือ การซ่อมบำรุง และลดอายุการทำงานของลิฟท์ และอุปกรณ์ประกอบแล้ว ยังเป็นการเดินทางภายในอาคารที่ต้องใช้พลังงานและมีภาระค่าใช้จ่ายมากด้วย
  13. การออกแบบและติดตั้งลิฟท์ให้เปิดเข้าสู่พื้นที่ใช้สอยแต่ละชั้นได้โดยตรงโดยไม่มีพื้นที่พักรอลิฟท์ต่างหาก จะทำให้การใช้ลิฟท์แต่ละครั้งเป็นต้นเหตุให้มีการสูญเสียความเย็นจากการปรับอกาศของพื้นที่ใช้สอยแต่ละชั้นด้วย รวมทั้งการสูญเสียความเย็นทางช่องทางเดินของลิฟท์ที่มีประตูเปิด – ปิด เข้าสู่พื้นที่ใช้สอยแต่ละชั้นที่ปิดได้ไม่สนิท เป็นเหตุให้มีการสูญเสียพลังงานในการปรับอากาศในพื้นที่ใช้สอยแต่ละชั้น ทุกครั้งที่มีการปิดประตูลิฟท์และจากการรั่วไหลตามช่องประตูที่ปิดไม่สนิทอีกด้วย
  14. การไม่ให้ข้อมูลการใช้ลิฟท์อย่างเพียงพอ ชัดเจน และต่อเนื่อง จะเป็นเหตุให้มีการใช้ลิฟท์มากเกินความจำเป็น เช่น การไม่แสดงตำแหน่งของลิฟท์ภายในลิฟท์ในการเดินทางภายในอาคารที่ชัดเจน ถูกต้อง สอดคล้องกับพื้นที่ใช้สอยแต่ละชั้นของอาคาร จะทำให้ผู้ใช้อาคารไขว้เขว หลงชั้น และใช้ลิฟท์มากเกินความจำเป็น การไม่แสดงตำแหน่งและทิศทางการเดินทางของลิฟท์ภายนอกลิฟท์ จะทำให้ผู้รอใช้ลิฟท์รอโดยไม่ทราบการเคลื่อนไหวและภาวะการสิ้นสุดของการรอที่แน่นอน เป็นเหตุให้ผู้รอใช้ลิฟท์ กดเรียกลิฟท์ที่กำลังเคลื่อนที่ในอีกทิศทางหนึ่งด้วย ทำให้มีการหยุดลิฟท์ เพื่อรับผู้ใช้ลิฟท์รายเดียวกันนี้ มากกว่าหนึ่งครั้ง สูญเสียทั้งพลังงาน ค่าใช้จ่าย การสึกหรอและการซ่อมบำรุง นอกจากนี้การไม่แสดงข้อมูลของพื้นที่บางชั้นภายในอาคารให้ชัดเจนจะเป็นเหตุให้มีการใช้ลิฟท์ผิดพลาด และใช้พลังงานเกินความจำเป็น เช่น อาคารที่มีชั้น P,M,G,B,L และ LL ที่หมายถึงชั้นจอดรถ (Parking) ทางเข้าอาคารหัก (Main Entrance) ชั้นล่างระดับพื้นดิน (Ground) ใช้ต่ำกว่าชั้นระดับพื้นดิน (Basement) ชั้นที่มีโถงเข้าออก (Lobby) และชั้นล่างที่เป็นโถงเข้าออก (Lower Lobby) บุคคลภายนอกที่มาติดต่อหน่วยงานจะขาดความเข้าใจและกดใช้ลิฟท์ผิดพลาด ทำให้มีค่าใช้จ่ายในอาคารที่มีการใช้นั้นสูงกว่าความจำเป็น
  15. การไม่แสดงตำแหน่งชั้นของพื้นที่อาคารที่ชัดเจน และเพียงพอเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการใช้ลิฟท์มากเกินความจำเป็น เช่น อาคารจอดรถที่แต่ละชั้นของพื้นที่จอดรถมีลักษณะคล้ายกัน หรือมีโครงสร้างแบบเดียวกันจะทำให้เจ้าของรถที่มาใช้อาคารไขว้เขว และตามหารถตนเองด้วยการใช้ลิฟท์เดินทางระหว่างชั้น กลับไป – กลับมามาก เป็นเหตุให้มีการใช้พลังงานมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการใช้ลิฟท์ของอาคารมากเกินความจำเป็น
  • แนวทางแก้ไข
  1. แยกลิฟท์ขนของออกจากลิฟท์ขนคน ซึ่งอาคารสูงมีความจำเป็นต้องใช้ลิฟท์ขนของต่อเนื่อง แต่อาจจะมีความถี่ในการใช้ไม่มากเท่าการใช้ลิฟท์ขนคนเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ลิฟท์ที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นในการขนคน การใช้ลิฟท์ที่มีขนาดเล็กลงมีการตกแต่งภายในดี ดูแลรักษาง่ายเพื่อขนคนจะลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการเดินทางด้วยลิฟท์ภายในอาคารได้มาก โดยเฉพาะอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า โรงพยาบาล เป็นต้น
  2. ติดตั้งระบบการเรียกลิฟท์ ให้ลิฟท์หน่วยที่อยู่ใกล้จุดที่มีการเรียกลิฟท์มากที่สุดเดินทางไปยังชั้นที่มีการเรียกลิฟท์ ยกเว้นกรณีที่การเรียกลิฟท์ในขณะที่มีลิฟท์กำลังเดินทางไปในทิศทางเดียวกับผู้เรียก ก็ให้ลิฟท์ที่กำลังเดินทางนั้น ไปยังชั้นที่มีการเรียกแทนการเรียกลิฟท์หยุดนิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด
  3. ติดตั้งและใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่มีขนาดสอดคล้องกับการขนส่งคนและสิ่งของที่จำเป็นซึ่งจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นในการขนส่งด้วยลิฟท์รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการใช้ลิฟท์ด้วย
  4. เลือกใช้หลอดแสงสว่างและอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการใช้กำลังและพลังงานไฟฟ้าของลิฟท์ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการใช้ลิฟท์ด้วย การเลือกใช้พัดลมระบายอากาศที่มีขนาดเหมาะสมและสอดคล้องกับขนาดและภาวะการใช้ลิฟท์จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในการขนส่งด้วยลิฟท์ได้ และการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของระบบแสงสว่างและพัดลมระบายอากาศ จะช่วยลดการสูญเสียและสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายในการใช้ลิฟท์ได้มาก โดยเฉพาะเมื่อลิฟท์อยู่ในขณะพักหรือหยุดรอการเรียกใช้
  5. ตกแต่งและติดตั้งวัสดุพื้นผิวภายในลิฟท์ ด้วยวัสดุมวลเบา ทนทาน สีอ่อน และดูแลรักษาง่ายพร้อมขอบกันกระแทกบนผนังลิฟท์เพื่อป้องกันการขูดขีดเมื่อมีการใช้ภาชนะขนของเข้าไปภายในลิฟท์ แทนการใช้หินอ่อน หินแกรนิตบุทั้งพื้นและผนัง เป็นภาระในการขนส่งของลิฟท์ทั้งขึ้นและลง
  6. จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในลิฟท์ เพื่อให้ผู้ใช้ลิฟท์ได้ทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องและเพียงพอในการใช้ลิฟท์เดินทางภายในอาคารรวมทั้งการติดตั้งจอแสดงตัวเลข ตำแหน่งชั้นที่ลิฟท์อยู่จะช่วยลดการสิ้นเปลืองจากการใช้ลิฟท์ผิดพลาด และการกดเรียกลิฟท์เกินความจำเป็น
  7. แยกลิฟท์สำหรับการขนส่งคนและสิ่งของระยะสั้นและระยะยาวกรณีที่มีการติดตั้งลิฟท์มากกว่า 1 หน่วย เพื่อลดการทำงานของลิฟท์ ลดการซ่อมบำรุง ลดเวลาที่ต้องใช้ในการรอลิฟท์จากการเรียกแต่ละครั้ง พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดการใช้ลิฟท์แต่ละหน่วยไว้ภายนอก

การประหยัดพลังงานในอาคาร 03