การจัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จ
ในรอบ 5 ปีแต่ละโรงเรียนมักจะมีแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาและใต้แผนยุทธศาสตร์จะถูกแบ่งออกเป็นแผนงานตามลักษณะงาน ซึ่งหากจะย่อยลงไปกว่านั้น คือ การแตกออกเป็นโครงการ และตามมาด้วยกิจกรรมย่อยที่อยู่ภายใต้โครงการนั้นๆโครงการมีความสำคัญ คือ สามารถนำไปสื่อสารให้กับคณะทำงานได้มองเห็นความสำคัญและภาพรวมของทั้งโครงการ ตลอดจนมองเห็นทิศทาง,เวลาและทรัพยากรต่างๆ ทั้งคนและงบประมาณ ที่ใช้ในการขับเคลื่อนโครงการให้ประสบความสำเร็จได้
การจัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมีความสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะหากในสถานศึกษายังไม่ตระหนักถึงเรื่องนี้ต่อไปข้างหน้าจะกลายเป็นปัญหาที่สะสมและกลับกลายเป็นภาระอันหนักอึ้งให้กับโรงเรียน เช่น ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการใช้พลังงานอย่างไม่รู้คุณค่าของบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน,ปัญหาขยะที่ไม่ผ่านการแยกและไม่ทิ้งลงถัง เป็นต้น แต่การจัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมีอาจไม่ได้ประสบความสำเร็จไปทุกโครงการซึ่งปัญหาที่มักเป็นอุปสรรคที่พบบ่อย
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
- การไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
- ความไม่ต่อเนื่องในการทำโครงการ อันเนื่องจากการเปลี่ยนผู้บริหารหรือคณะทำงาน
- การไม่ให้ความร่วมมือของบุคลากรฝ่ายต่างๆเนื่องจากยังไม่เข้าใจและยังไม่เห็นคุณค่า
- ขาดแคลนงบประมาณ
- ขาดหน่วยงานสนับสนุน
จริงอยู่ที่ปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่ดูเหมือนยิ่งใหญ่แต่หากมีความตั้งใจจะลงมือทำอย่างจริงจังและมองไปถึงเป้าหมายปลายทางสุดท้ายที่เห็นนักเรียนทุกคนที่ผ่านกิจกรรมในโครงการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทางโรงเรียนจัดให้และได้รับสิ่งดีๆติดตัวไป เกิดแรงบันดาลใจสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้
การจัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จ
- การค้นหารากเหง้าของปัญหา
ซึ่งหากเราไม่สามารถค้นพบรากเหง้าของปัญหาได้ การแก้ปัญหาจะต้องแก้แบบไม่จบสิ้น แก้จุดนี้ จุดโน้นรั่ว ไปเรื่อยๆ วนเวียนหาทางออกไม่เจอ และสำหรับเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการขุดค้นไปยังรากเหง้าของปัญหาได้ คือ ต้นไม้ปัญหา (Problem tree) ซึ่งเปรียบให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ของปัญหาเปรียบเหมือนลำต้น เราจะใช้คำถามว่า ทำไม ทำไม ทำไม? ขุดค้นหาสาเหตุไปเรื่อยๆจนถึงรากต้นไม้ คือ ไม่สามารถหาสาเหตุต่อไปได้อีกแล้ว ซึ่งเปรียบเสมือนรากของปัญหาอย่างแท้จริง จากนั้นจึงจะนำปัญหามาเรียงลำดับความสำคัญเพื่อเตรียมตัวในการจัดการต่อไป - การสำรวจสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อค้นพบรากเหง้าของปัญหาแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ เราต้องค้นหารายละเอียดของปัญหา ผ่านการสำรวจโดยมีหลักดังนี้- วางแผนการสำรวจให้ครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง พลังงานไฟฟ้า,น้ำ,ขยะ
- สำรวจทั้งทางด้านเทคโนโลยี (อุปกรณ์และการบำรุงรักษา) และด้านพฤติกรรม เช่น การลืมเปิด-ปิด ไฟฟ้าและน้ำ
- ควรจะดึงทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอาคารสถานที่,ครู,และนักเรียน
- เมื่อสำรวจแล้วควรนำมาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาจุดเด่น-จุดด้อย เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการเขียนโครงการต่อไป
- ทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ได้ หมายถึง ทั้งทรัพยากรบุคคลโดยเฉพาะฝ่ายอาคารสถานที่และฝ่ายวิชาการหรือฝ่ายกิจกรรมและงบประมาณ ซึ่งต้องมีการประชุมร่วมกันกับคณะผู้บริหารที่สามารถตัดสินใจในขอบเขตที่เหมาะสมได้
- ก่อนเขียนโครงการต้องตอบคำถาม 6 W 1H
W1 = WHO หมายถึง คำถาม “ใครเป็นผู้ดำเนินโครงการ”
W2 = WHAT หมายถึง คำถาม “จะทำอะไรบ้าง”
W3 = WHEN หมายถึง คำถาม “จะทำเมื่อไหร่”
W4 = WHERE หมายถึง คำถาม “จะดำเนินโครงการที่ไหน”
W5 = WHY หมายถึง คำถามที่เกี่ยวกับ “จะทำโครงการนี้ไปทำไม”
W6 = TO WHOM หมายถึง คำถาม “ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์”
H1 = HOW หมายถึง คำถาม “จะดำเนินโครงการอย่างไร” - ลงมือเขียนโครงการ
- นำโครงการไปปฏิบัติให้เกิดผลจริงจัง ซึ่งต้องมีการกำกับ ควบคุม ดูแลโดยครูหรือคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ รวมถึงนักเรียนแกนนำอย่างสม่ำเสมอ
- ติดตาม,ประเมินและพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งควรจะมีการจดบันทึกการประชุมให้ละเอียดเพื่อนำมาใช้เป็น km สำหรับผู้ที่มารับสานต่องาน
คุณครูท่านใดสนใจตัวอย่างแบบฟอร์มการเขียนโครงการ สามารถดาวน์โหลดตามลิงค์ที่ให้ไว้ได้นะครับ
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากเว็บ https://sites.google.com/a/ttc.ac.th/financill_acc/bthna/kar-kheiyn-khorngkar
————————————————————————————————————–
สนใจหลักสูตรการจัดทำแผนและโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จ ติดต่อประสานงานโดยตรงที่ โทร : 02-408-1600