ชื่อไทย มะขามเทศ
ชื่อท้องถิ่น –
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น สูง 15 ม. เปลือกเรียบและมีหนาม ในตำแหน่งรอยก้านใบ (leaf scar) ลำต้นสีเทาแกมขาวหรือเทาดำ
ลักษณะใบ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ขอบใบ 2 ข้างโค้งไม่เท่ากัน ผิวใบเรียบถึงมีขนเล็กน้อย ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุม โคนก้านใบมีหูใบคล้ายหนาม
ลักษณะดอก ดอกช่อเกิดที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวแกมขาว ติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเชื่อม ติดกันเป็นหลอด เกสรเพศเมีย 1 อัน
ลักษณะผล ฝักค่อนข้างแบนถึงทรงกระบอกมีรอยคอดตามแนวสัน และเปลือกนูนตามจำนวนเมล็ด ผลขดเป็นวงหรือเป็นเกลียวกว้าง 1-2 ซม. ยาว 5-15 ซม. เนื้อผลเมื่อแก่จัดสีชมพูหรือสีแดง
ระยะการออกดอกติดผล
ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม ทยอยบานเรื่อย ๆ ผลแก่ประมาณเดือนธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงมีนาคม
เขตการกระจายพันธุ์
เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไทย หลักฐานบางแหล่งกล่าวว่าเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ตอนบนจากนั้นจึงแพร่กระจายไปสู่อเมริกาเหนือ ฟิลิปปินส์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การใช้ประโยชน์
มะขามเทศเป็นผลไม้ที่ใช้กินผลสด มีการปลูกเป็นการค้า นำมาประกอบอาหารได้ ชาวมอญนำมะขามเทศชนิดรสฝาดไปแกงส้ม ในทางยา เปลือกต้นแก้ท้องร่วง รักษาแผลในปาก ฟันผุ
แหล่งข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
https://puechkaset.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/