ชื่อไทย                         ขี้หนอน

ชื่อท้องถิ่น                ขี้มอด (นครราชสีมา ขอนแก่น)

ชื่อวิทยาศาสตร์          Zollingeria dongnaiensis Pierre

ชื่อวงศ์                    SAPINDACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือเป็นพุ่มกลม โปร่ง เปลือกนอกสีเทาดำ เรียบ แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลทั่วไป เปลือกในสีขาว มีหนามยาวๆ อยู่ประปรายตามลำต้นหรือกิ่งไม้

ลักษณะใบ       ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียน มีใบย่อย 4-8 คู่ ใบย่อยเรียงสลับกึ่งเวียน รูปร่างใบย่อยรีหรือขอบขนานหรือรุปไข่กลับหัว ปลายใบย่อยแหลมหรือเว้าบุ๋ม ฐานใบย่อยเบี้ยว ขอบใบย่อยเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนนุ่ม ใบแก่เกลี้ยงก่อนร่วงมีสีเหลือง ขนาด 2.5-5 x 5-12 เซนติเมตร

ลักษณะดอก ช่อแบบแยกแขนง ที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ลักษณะผล ผลแห้งมีครีบบางๆ 3 ครีบ ผลแก่สีน้ำตาล

ระยะการออกดอกติดผล

ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ผลแก่เดือนมกราคม-มีนาคม

เขตการกระจายพันธุ์  

            พบในป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง

การใช้ประโยชน์        

เปลือก : นำไปตีกับน้ำนำมาซักผ้าได้

แหล่งข้อมูล :   สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้