ชื่อไทย                         พลับพลา

ชื่อท้องถิ่น                สากกะเบือละว้า (สุโขทัย), กะปกกะปู (พิษณุโลก), หมากหอม (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ), หลาย (แม่ฮ่องสอน), คอมขน(ชัยภูมิ), มลาย (ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด), น้ำลายควาย (ใต้), พลา (ยะลา,ปัตตานี, ระนอง), พลาขาว (ชุมพร), พลาลาย (ตรัง), ขี้เถา, คอมส้ม, คอม, เกลี้ยง, ข้าวจี่, ไม้ลาย, ม้าลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์          Microcos tomentosa Smith

ชื่อวงศ์                    TILIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา แตกล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ เปลือกในสีชมพู มีเส้นใยเรียงตัวเป็นชั้น กิ่งอ่อนและก้านใบ มีขนรูปดาวหนาแน่น

ลักษณะใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กลับ มีขนสากทั่วไป ปลายใบหยักคอดเป็นติ่งสั้นหรือเว้าแหว่งเป็นริ้ว

ลักษณะดอก ช่อดอกออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมากและล้อมรอบรังไข่

ลักษณะผล ผลกลมหรือรูปไข่กลับ ผิวของผลมีขนทั่วไป เมื่อแก่สีเหลือง

ระยะการออกดอกติดผล

ออกดอกและติดผลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน

เขตการกระจายพันธุ์  

อินเดีย จีนตอนใต้ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ไปจนถึงอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ประเทศไทยพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-300 เมตร

การใช้ประโยชน์        

แก่น : ผสมแก่นโมกหลวง ลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น ลำต้นสบู่ขาว ลำต้นพลองเหมือด แก่นจำปา และลำต้นคำรอก ต้มน้ำดื่ม แก้หืด

เปลือก : ผสมปรุงเป็นยาบำรุงเลือดสตรี เปลือกให้เส้นใย ใช้ทำเชือก น้ำมันยางจากเปลือก ใช้เป็นเชื้อเพลิง

ผล : ผลแก่ มีรสเปรี้ยว รับประทานเป็นยาระบาย กระจายเลือด

แหล่งข้อมูล :   ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี / โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.)