ชื่อไทย                         พุดชมพู

ชื่อท้องถิ่น                   ตึ่งตาใส เข็มอุณากรรณ อุณากรรณ

ชื่อวิทยาศาสตร์          Kopsia fruticosa (Kerr) A.DC.

ชื่อวงศ์                     APOCYNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 10 ม.

ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรี กว้าง 3.3-8.0 เซนติเมตร ยาว 7.5-18 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม

ลักษณะดอก สีชมพูหรือสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งยาว 7-12 เซนติเมตร มีขนสั้น ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 5.5 เซนติเมตร กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ปลายกลีบบนแยก 5 แฉก กลีบดอกเป็นหลอด ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ส่วนปลายแผ่เป็น 5 กลีบ รูปไข่กลับปลายมน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่ใกล้ปากหลอดกลีบดอก รังไข่เกลี้ยงหรือมีขน

ลักษณะผล สีดำแดง ยาว 1.50-1.47 เซนติเมตร ปลายผลเป็นจงอยเด่น

ระยะการออกดอกติดผล       

พฤษภาคม-กันยายน

เขตการกระจายพันธุ์

ในไทยพบในป่าดิบหรือป่าที่กำลังคืนสภาพบนภูเขาหินปูนที่ระดับความสูง 500 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง มีถิ่นกำเนิดจีน พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

การใช้ประโยชน์        

พืชประดับ : ใช้ปลูกประดับภูมิทัศน์เพื่อความสวยงาม

แหล่งข้อมูล : อุทยานหลวงราชพฤกษ์