ชื่อไทย สะเดา (Neem)
ชื่อท้องถิ่น สะเดาอินเดีย (กรุงเทพมหานคร) สะเลียม (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica A. Juss.
วงศ์ MELIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20 – 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบตลอดปี เปลือกนอกสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ ค่อนข้างหนา แตกเป็นร่องตื้นๆ หรือเป็นสะเก็ดยาวๆ เยื้องสลับกันไปตามความยาวของลำต้น เนื้อไม้สีแดงเข้มปนน้ำตาล แกนมีสีน้ำตาลแดง
ลักษณะใบ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคี่ เรียงตัวแบบสลับ ใบย่อยรูปหอกหรือรูปเคียวโค้ง กว้างประมาณ 1.5 – 3.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 – 9 เซนติเมตร เรียงตรงข้าม โคนใบเบี้ยว ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม
ลักษณะดอก ช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ออกที่ง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาวหรือสีเทา ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงเป็นรูปทรงแจกัน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปลายเป็นพู 5 พู ซ้อนเหลื่อมกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกออกจากกัน รูปช้อนแคบ ยาวประมาณ 4 – 6 มิลลิเมตร ท่อเกสรตัวผู้เกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม รังไข่เกลี้ยงหรือมีขนนุ่มสั้น ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
ลักษณะผล ผลมีเนื้อเมล็ดเดียวแข็ง รูปกลมรีคล้ายผลองุ่น ขนาดยาว 1 – 2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ผลสุกสีเหลืองอมเขียว มีรสหวานเล็กน้อย เมล็ดมีผิวค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว สีเหลืองซีดหรือสีน้ำตาล
ระยะการออกดอกติดผล
ออกดอกระหว่างเดือนธันวาคม – เดือนมีนาคม ผลสุกเดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน
เขตการกระจายพันธุ์
พบตามป่าแล้งทั่วๆ ไปในประเทศอินเดีย ปากีสถาน พม่า ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย สำหรับในประเทศไทยมีเขตการกระจายตามธรรมชาติเป็นป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วประเทศ
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้: ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนและทำเฟอร์นิเจอร์
ราก: แก้ลม เสมหะที่แน่นในอก จุกคอ
ใบ: เป็นยาพอกฝี เป็นยาฆ่าแมลง
ดอก: เป็นยาช่วยเจริญอาหาร และช่วยย่อยอาหาร แก้พิษ เลือดกำเดา บำรุงธาตุ
ผล: แก้โรคหัวใจผลอ่อน ใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง และปัสสาวะพิการ
แหล่งข้อมูล: สำนักงานหอพรรณไม้ – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0029″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นสะเดา”]