ชื่อไทย        สัก (Teak)

ชื่อท้องถิ่น    –

ชื่อวิทยาศาสตร์     Tectona grandis L. f.

วงศ์     LAMIACEAE

ลักษณะพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 20 – 30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมค่อนข้างทึบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกสีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา หนา เรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามความยาวของลำต้นเปลือกในสีเขียวอ่อน เนื้อไม้มีสีน้ำตาลทองถึงสีน้ำตาลแก่ โคนต้นเป็นพูพอนต่ำๆ กิ่งอ่อนเป็นรูปเหลี่ยม

ลักษณะใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปรีกว้าง หรือรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 12 – 35 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15 – 60 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น พื้นใบด้านบนและด้านล่างสาก ท้องใบเป็นสีเขียวและมีขนปกคลุม

ลักษณะดอก ช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ออกที่ซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยสีขาวนวล มีขนาดเล็ก กลีบดอก 6 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขนทั้งด้านนอกและด้านใน เกสรเพศผู้ 5 – 6 อัน ยื่นยาวพ้นออกจากดอก ส่วนเกสรเพศเมียยาวเท่ากับเกสรเพศผู้ ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง

ลักษณะผล ผลแห้ง เป็นกระเปาะ รูปทรงกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร มีชั้นของกลีบเลี้ยงสีเขียว ลักษณะพองลมและบางหุ้มอยู่ ในผลหนึ่งผลจะมีเมล็ดรูปทรงไข่ อยู่ประมาณ 1 – 4 เมล็ด กว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร

ระยะการออกดอกติดผล

ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม

เขตการกระจายพันธุ์

มีถิ่นกำเนิดจำกัดอยู่เฉพาะแถบเอเชียตอนใต้ พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในแถบประเทศอินเดีย พม่า ไทย (เฉพาะภาคเหนือ) ลาว (เฉพาะที่อยู่ติดกับไทย) และบางจุดของอินโดนีเซีย

การใช้ประโยชน์

เนื้อไม้: ทนทาน สวยงาม เหมาะกับการก่อสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ รถ แกะสลัก เครื่องมือกสิกรรม แมลงไม่ชอบกัดแทะ

แหล่งข้อมูล: ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์

[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0030″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นสัก”]