ชื่อไทย          อบเชย (Wild cinnamon)

ชื่อท้องถิ่น    เชียด (ทั่วไป) อบเชยต้น (ภาคกลาง) กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) กระดังงา (กาญจนบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์       Cinnamomum iners Reinw. ex Blume

วงศ์    LAURACEAE

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์              

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 – 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดกลม หรือรูปเจดีย์ต่ำๆ ทึบ เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา เรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยม มีช่องอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกในสีชมพู กระพี้สีขาว เปลือกและใบมีกลิ่นหอมแบบอบเชย

ลักษณะใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 7.5 เซนติเมตร ยาว 7.5 – 25 เซนติเมตร โคนใบมน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เนื้อใบหนาแข็งและกรอบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้นยาวตลอดจนถึงปลายใบ ใบด้านล่างเป็นคราบขาวๆ ยอดอ่อนมีสีแดง

ลักษณะดอก ช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อน ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปไข่ ปลายแหลม มีขนนุ่มหนาแน่น ไม่มีกลีบดอก ดอกมีกลิ่นเหม็น

ลักษณะผล ผลมีเนื้อเมล็ดเดียวแข็ง รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร  ผิวเกลี้ยงเป็นมัน มีคราบขาว โคนมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่  ผลอ่อนสีเขียวประขาว เมื่อสุกมีสีดำ เมล็ดรูปไข่

ระยะการออกดอกติดผล

ออกดอกเดือนมกราคม – เดือนเมษายน ติดผลเดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม

เขตการกระจายพันธุ์

พบขึ้นกระจายในป่าดิบทั่วไป ที่ความสูง 400 – 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล

การใช้ประโยชน์ 

รากและใบ: ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดหลังปวดเอว น้ำต้มให้สตรีกินหลังคลอดบุตร และลดไข้หลังการผ่าตัด

เนื้อใบ: ใช้ในการแกะสลัก ทำหีบใส่ของป้องกันแมลง เครื่องเรือน ไม้บุผนังที่สวยงาม

เปลือก: มีรสหวานหอม ตากให้แห้งแล้วนำไปเคี้ยวกินกับหมาก ต้มน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร ใช้เป็นเครื่องปรุงเทศ หรือนำไปทำธูป

ใบ: น้ำยางจากใบใช้ทาแผลถอนพิษของยางน่อง และตำเป็นยาพอกแก้ปวด

เมล็ด: ทุบให้แตกแล้วผสมกับน้ำผึ้ง ให้เด็กกินแก้บิดและแก้ไอ

แหล่งข้อมูล: โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง

[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0033″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นอบเชย”]