ชื่อไทย           หว้า (Black plum, Jambolan)

ชื่อท้องถิ่น      ห้าขี้แพะ (เชียงราย)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Syzygium cumini (L.) Skeels

วงศ์     MYRTACEAE

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น เนื้อแข็ง ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง เปลือกนอกสีเทาปนน้ำตาล ขรุขระ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย เปลือกในสีน้ำตาลแดง

ลักษณะใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4 – 7 เซนติเมตร ยาว 9 – 14 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมเรียว แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ผิวเกลี้ยงเส้นกลางใบนูนเห็นชัด เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน มีจุดน้ำมันบริเวณขอบใบ

ลักษณะดอก ช่อแยกแขนง ออกตามกิ่ง ดอกสีขาว หรือสีเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปถ้วย ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก โดยจะมีเยื่อหุ้มบางๆ หุ้มดอกยังตูมไว้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่ เยื่อบางๆ นี้จะหลุดไป เกสรเพศผู้จำนวนมากติดอยู่รอบขอบของฐานรองดอก เกสรเพศเมีย 1 อันฝังอยู่ตรงกลาง

ลักษณะผล ผลมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปไข่ กว้าง 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5 – 2 เซนติเมตร เนื้อนุ่ม เมื่อสุกมีสีม่วงแดงถึงดำ

 ระยะการออกดอกติดผล

ออกดอกเดือนมีนาคม – เดือนเมษายน ติดผลเดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม

เขตการกระจายพันธุ์

มีถิ่นกำเนิดมาจากเชียเขตร้อน (ประเทศอินเดีย – มาเลเซีย) พบตามพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ป่าดิบ และป่าผลัดใบทั่วไป

การใช้ประโยชน์           

เนื้อไม้: ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม

เปลือก: ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง อมแก้ปากเปื่อย

ใบ: ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด

ผล: ผลดิบแก้ท้องเสีย ผลสุกใช้ทำเครื่องดื่ม หรือรับประทานสด

เมล็ด: ลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ

แหล่งข้อมูล: สำนักงานหอพรรณไม้ – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0032″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นหว้า”]