ชื่อไทย                  แคขาว

ชื่อท้องถิ่น             แคเก็ตถวา (เชียงใหม่) แคตุ้ย แคทราย แคแนน  แคฝอย แคฝา แคแหนแห้ (ภาคเหนือ)

                               แคนา (ภาคกลาง) แคพูฮ่อ (ลำปาง) แคหยุบฮ่อ แคอาว (ปราจีนบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem.

ชื่อพ้อง                Bignonia serrulata Wall. ex DC.

วงศ์                      BIGNONIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ ทึบ เปลือกนอกสีน้ำตาล มีสะเก็ดเล็กๆ

ลักษณะใบ ใบประกอบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคี่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 5 – 14 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว ขอบใบจักฟันเลื่อยห่างๆ ปลายใบเรียวแหลม

ลักษณะดอก ช่อกระจะสั้นๆ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาว รูประฆัง กลีบเลี้ยงเป็นกาบ ยาว 4 – 5 เซนติเมตร กลีบดอกเชื่อมติดกัดกันเป็นหลอดยาว 6 – 10 เซนติเมตร  ปลายบานออกยาว 5 – 8 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ 5 อัน ยาว 3 – 5 เซนติเมตร สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน และเป็นหมัน 1 อัน ก้านเกสรเพศเมียยาวได้ถึง 12 เซนติเมตร

ลักษณะผล ผลแห้งแก่แล้วแตกสองแนว รูปแถบ บิดงอ ยาวได้ถึง 85 เซนติเมตร เมล็ดสีดำ รูปสี่เหลี่ยม ยาว 2.2 – 2.8 เซนติเมตร รวมปีกบางใส

ระยะการออกดอกติดผล

ออกดอกเดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน ติดผลหลังออกดอกผล

เขตการกระจายพันธุ์

พบในพม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ชายทุ่งหรือทุ่งนา หรือพื้นที่ที่มีความสูงถึงประมาณ 300 เมตร จากระดับน้ำทะเล

การใช้ประโยชน์           

ดอก: สามารถนำมาลวกจิ้มน้ำพริก รับประทานได้

แหล่งข้อมูล: สำนักงานหอพรรณไม้ – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0002″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นแคขาว”]