,

การพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

https://adeq.or.th/wp-content/uploads/2018/08/การพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ.jpg

การผลิตในวงจรของพืชเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญของการพึ่งพากันในระบบนิเวศ เพราะสัตว์จำนวนมากไม่สามารถผลิตอาหารเพื่อการบริโภคได้ด้วยตนเอง จึงต้องอาศัยอาหารจากการผลิตและสะสมของพืช พืชจะสังเคราะห์แสงและผลิตอาหาร เพื่อใช้บริโภคเอง อีกทั้งเพื่อการส่งเสริมการเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของพืช สัตว์บางชนิดไม่สามารถกินพืชเป็นอาหารเพียงอย่างเดียวแต่จำเป็นต้องกินธาตุอาหารจากสัตว์อื่นด้วย จึงต้องไล่ล่าสัตว์อื่นเป็นอาหาร ส่วนมนุษย์เป็นสายพันธุ์ที่มีการพัฒนาสูง บริโภคทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร มีการปรุงอาหารให้สุก ให้ได้รสชาติและมีความหลากหลาย

แต่อย่างไรก็ตาม การดำรงชีวิตของมนุษย์ก็ไม่จำเป็นต้องบริโภคทั้งพืชและสัตว์ เพราะคนจำนวนไม่น้อยบริโภคพืชเพียงอย่างเดียวก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสุขภาพดี ในระบบนิเวศอาจมองเห็นไม่ชัดว่าใครพึ่งพาใคร แต่ในท้ายที่สุด ในการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ เมื่อตายไปจะเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ในการเจริญเติบโตและการเพิ่มประชากร จากนั้นจุลินทรีย์ก็เป็นอาหารแก่แมลง สัตว์จะมากินแมลงต่อไปหรือจุลินทรีย์ในน้ำก็เป็นอาหารของสัตว์น้ำ ปลามากินสัตว์น้ำ ปลาใหญ่มากินปลาเล็ก และขยายวงห่วงโซ่อาหารไปเรื่อยๆ ท้ายที่สุดก็เป็นอาหารบนโต๊ะของมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้บริโภคท้ายสุดของห่วงโซ่อาหาร

ภาพจาก https://www.tes.com/lessons/XM1XmwxcrmLiaA

การย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ของจุลินทรีย์ มีประโยชน์อย่างมากต่อระบบนิเวศ โดยลองคิดดูว่า ถ้ามีสิ่งมีชีวิตมากมายในโลกตายลงโดยไม่มีการย่อยสลายอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะเกิดการทับถมและเมื่อเจอความร้อน การเผาไหม้ก็จะขยายวงกว้าง หรือเรียกว่าไฟบรรลัยกัลป์ ด้วยคุณประโยชน์ของจุลินทรีย์ทำให้เกิดการย่อยสลาย และทำให้ธาตุอาหารในซากพืชซากสัตว์หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในการเจริญเติบโตได้อีก ดังนั้นจุลินทรีย์จึงเป็นที่พึ่งพาที่สำคัญของระบบนิเวศ รวมทั้งแมลงหลายชนิดก็เป็นที่พึ่งพาของนก และการถ่ายทอดทางการบริโภคก่อให้เกิดห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศนั่นเอง และการย่อยสลายของจุลินทรีย์เป็นการปรุงแต่งโครงสร้างดินให้ดีขึ้น และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด เพราะในการเจริญเติบโตของพืชต้องอาศัยธาตุอาหาร ความเหมาะสมของดินในการดูดซับน้ำและความสามารถในการชอนไชของราก พืชจะอาศัยเพียงแสงแดดอย่างเดียวในการสังเคราะห์ไม่ได้

ในระบบนิเวศเกษตร พืชทำให้โครงสร้างของดินมีความสำคัญมากขึ้น ในการเจริญเติบโตของพืช เพราะระบบนิเวศประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลาย ดินที่ร่วนซุยมีธาตุอาหารที่พืชสามารถดูดซับมาจากดินที่ได้รับการถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตได้ดี ดินที่ปราศจากสิ่งมีชีวิตจะนำธาตุไปใช้ได้อย่างไม่เต็มที่ เช่น ดินที่ขุดจากขุมเหมืองมีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม ปริมาณเพียงพอ แต่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ เพราะโครงสร้างดินมีความสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช โดยทั่วไปความอุดมสมบูรณ์ ความชื้น ความลาดชัน ระดับความสูง จะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของพืชด้วย ดังนั้นจะเป็นดินชนิดเดียวกัน แต่ความสูงต่างกัน ก็อาจจะทำให้พืชพรรณต่างกัน

ในระบบนิเวศของป่า พืชและสัตว์ต่างเกื้อกูลกัน คือพืชเป็นอาหารของสัตว์ป่า ในทางกลับกัน พืชเองก็ต้องอยู่เพื่อ 2 เหตุผล ประการแรก เพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอด ในส่วนนี้โดยมีน้ำ อาหาร อุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสม แต่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะตายไป ดังนั้นเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ การแพร่พันธุ์ของไปให้ไกลที่สุด โดยสร้างส่วนขยายพันธุ์และส่วนดึงดูดให้สัตว์เข้ามามีส่วนขยายพันธุ์ แม้พืชบางชนิดจะสามารถแพร่พันธุ์ได้โดยฟุ้งกระจายในอากาศ หรือบางชนิดจะลอยน้ำไปเติบโตในที่เหมาะสมได้ไกลๆ ก็ตาม แต่พืชส่วนใหญ่ก็ยังต้องอาศัยสัตว์การขยายพันธุ์โดยสัตว์กินพืช จากนั้นนำเมล็ดไปแพร่พันธุ์ที่อื่น เมล็ดพันธุ์มีรูปร่างต่างๆ เพื่อความเหมาะสมในการกระจายพันธุ์ พืชบางชนิดต้องอาศัยความสูง เช่น ในเขตป่าฝน พืชจะมีเมล็ดที่มีความเบาและมีปีก ร่วงลงมาจากต้นแม่พันธุ์ไปได้ไกลหลายร้อยเมตร เมล็ดบางชนิดต้องอาศัยสัตว์ที่มีขนปุกปุย หรืออาศัยการติดเสื้อผ้ามนุษย์ไป เช่น หญ้าเจ้าชู้ บางชนิดมีการดึงดูดโดยการตอบแทนสัตว์ในรูปของอาหาร เช่น ผลไม้ต่างๆ ที่สัตว์กินแล้วนำไปถ่ายในที่อื่นที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต นกก็เป็นตัวแพร่พันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำเมล็ดไปได้ไกลหลายกิโลเมตร มนุษย์เองก็เป็นตัวแพร่พันธุ์ที่สำคัญ เช่นกัน ทั้งพืชที่เป็นอาหารและพืชในป่า

            สภาพปัจจุบัน การตัดสินใจของมนุษย์ขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ถ้ามนุษย์เข้าใจว่าตนเองเป็นสุดยอดของทุกสิ่งทุกอย่าง จะใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวในการดำรงชีวิตของตนเอง นับเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนรวม ดังนั้นต้องรีบเปลี่ยนโลกทัศน์เป็นการด่วนที่สุด

แต่การเปลี่ยนโลกทัศน์ต้องใช้เวลา ปัจจุบันนับว่าการพึ่งพาของมนุษย์และธรรมชาติไกลอกไปทุกที เพราะมนุษย์เข้าใจไม่ถูกต้องนั่นเอง จึงสร้างสิ่งแวดล้อมเทียมขึ้นมาตอบสนองความต้องการของตนเอง ในท้ายที่สุดพบว่ามีมนุษย์อยู่อีกกลุ่มออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง ที่เข้าไปสัมผัส ที่ดูดดื่ม ความชุ่มชื้นและความสุขจากธรรมชาติ ดังนั้นถ้าเราเห็นธรรมชาติมีคุณค่าคือการดำรงชีวิตและระบบนิเวศ ความหลากหลายของพืชและสัตว์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่นั้น การสูญเสียทรัพยากรพันธุกรรมนั้น ทำให้สายใยแห่งการคืบคลานจบสิ้นลง เช่น การนำพันธุ์ไม้จากป่ามาทำสวนหย่อม หรือสถานที่ต่างๆ เป็นตัวผลักดันให้มีการสูญเสียสายใยทางการพึ่งพาให้มากขึ้น เพราะสัตว์ป่าต้องอาศัยพืชพรรณเป็นตัวให้เกลือแร่หรือธาตุอาหารบางชนิด ยารักษาโรค แต่เมื่อพรรณไม้ถูกเคลื่อนย้ายออกมาสู่สนามกอล์ฟ สวนหย่อม สถานประกอบการอื่นๆ สัตว์จะหมดที่พึ่งพาในแหล่งของตนเอง จนต้องตายลง

ในการพึ่งพาเกื้อหนุนในขณะนี้คือ ต้องทำความเข้าใจศึกษาถึงความจำเป็นในการพึ่งพาของสัตว์ต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างดีพอ และมีการปรับเปลี่ยนจิตสำนึกใหม่ว่ามนุษย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ จะต้องทำหน้าที่สำคัญที่มนุษย์พึงมี คือ ต้องเกื้อกูลสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เกื้อกูลในระบบนิเวศป่าต่างๆ ให้อยู่ในภาวะสมดุล ขณะเดียวกันมนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตใหม่ เพื่อลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสายสัมพันธ์ขอสิ่งมีชีวิตในโลก

ในส่วนของผู้บริโภค ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตที่เหมาะสม ในขอบเขตและไม่เป็นอันตรายที่จะทำลายล้างสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ