พริก
พริก Chilli peppers
ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum Linn.
วงศ์ Solanaceae
ชื่อท้องถิ่นอื่น พริกชี้ฟ้า พริกเดือยไก่ พริกบางช้าง พริกหนุ่ม (ภาคเหนือ) พริกมัน (กรุงเทพฯ) พริกแล้ง (เชียงใหม่) พริกซ่อม พริกขี้หนู พริกนก พริกแด้ (เหนือ) พริกขี้นก ดีปลีขี้นก (ใต้) ดีปลี (ปัตตานี) ปะแกว (นครราชสีมา) หมักเพ็ด พริกแกว (อีสาน) พริกยักษ์ – พริกหวาน พริกฝรั่ง พริกหลวง พริกแม้ว พริกกะเหรี่ยง พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกสันป่าตอง พริกภูเรือ พริกจีน พริกเจแปน พริกต้ม และพริกแจว เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พริก เป็นพืชไม้พุ่มขนาดเล็กปลูกเป็นพืชฤดูเดียวหรือหลายฤดู ลำต้นสูง 0.5-1.5 เมตร มีระบบรากแก้วที่หยั่งลงไปในดินได้ลึก 50 เมตร มีรากแขนงมากและแผ่กระจายในแนวราบซึ่งมีรัศมีกว้างกว่า 1 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดต่างๆ กัน ก้านใบมีความยาวประมาณ 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบกว้างรูปไข่ขอบใบเรียบปลายใบแหลม ใบบางและส่วนใหญ่มีขน ดอกเจริญบริเวณข้อต่อ ปกติมักเป็นดอกเดี่ยวบางพันธุ์อาจมี 2-5 ดอกต่อข้อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีสีขาวหรือเขียวอ่อนหรือม่วงจำนวน 5-7 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5-6 อันอยู่ที่ฐานกลีบดอก เป็นพืชผสมตัวเองตามธรรมชาติแต่มีอัตราการผสมข้าม 9-68 % ผลพริกอ่อนมีสีเขียวหรือม่วง ผลสุกสีแดง ส้มเหลืองหรือน้ำตาลเมื่อผลแก่จะมีสีแดง แดงอมส้ม น้ำตาลหรือม่วง
คุณค่าทางโภชนาการ
ปริมาณต่อ 100 g แคลอรี (kcal) 39 ไขมันทั้งหมด 0.4 g ไขมันอิ่มตัว 0 g ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.2 gกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว 0 g คอเลสเตอรอล 0 mg โซเดียม 9 mg โพแทสเซียม 322 mgคาร์โบไฮเดรต 9 g ใยอาหาร 1.5 g น้ำตาล 5 g โปรตีน 1.9 g วิตามินเอ 952 IU วิตามินซี 143.7 mg แคลเซียม 14 mg เหล็ก 1 mg วิตามินดี 0 IU วิตามินบี6 0.5 mg วิตามินบี12 0 µg แมกนีเซียม 23 mg
เมนูเด็ด
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
สารสำคัญที่พบในพริกขี้หนู ได้แก่ acetic acid; alanine,phenyl; ascorbic acid; butyric acid; butyric acid,iso: ; caffeic acid; caproic acid; capsaicin; chlorogenic acid; ferulic acid; hexanoic acid; lauric acid; protein; novivamide; valeric acid; vanillyl amine; zucapsaicin พริกขี้หนู มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลในระบบทางเดินอาหาร ช่วยทำให้เจริญอาหาร และต้านเชื้อราและไวรัส
เมื่อปี ค.ศ.1982 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากพริกขี้หนู โดยผลการทดลองพบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้
เมื่อปี ค.ศ.2001 และปี ค.ศ.2004 ที่ประเทศจาเมกา ได้ทำการทดลองในสุนัข โดยพบว่าสารสกัดจากพริกขี้หนูสามารถยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหารและเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน จึงสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้
จากการศึกษาผลการลดระดับน้ำตาลในเลือดกับหญิงวัยหมดประจำเดือนจำนวน 10 ราย ซึ่งทำการทดลองโดยการเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด โดยวันแรกให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เพียงอย่างเดียว แล้วเจาะเลือด ณ เวลาก่อนกินและหลังกินที่เวลา 15, 30 และ 60 นาที หลังจากนั้นอีกวันให้ดื่มน้ำตาลกลูโคสเช่นเดียวกับวันแรก แต่กินร่วมกับพริกและทำการเจาะเลือด ณ เวลาเช่นเดิม แล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน จากการทดลองพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดหลังการดื่มน้ำตาลพร้อมพริก 30 นาที จะต่ำกว่าน้ำตาลในเลือดในวันแรกที่ไม่ได้กินพริกประมาณร้อยละ 20 จึงน่าจะสรุปได้ว่าพริกอาจมีผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ภายใน 30 นาที
สาร Capsaicin สามารถยับยั้งการดูดซึมไขมันและลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในหนูทดลองได้ จากการศึกษาโดยให้หนูทดลองกินอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น และเมื่อให้หนูกินพริกและ Capsaicin เข้าไป พบว่าระดับไขมันในเลือดลดลง ส่วนอีกการศึกษาที่ทำการศึกษาในคนที่มีไขมันในเลือดสูง โดยทำการแบ่งกลุ่มให้กินพริกขี้หนู 5 กรัม ร่วมกับอาหารปกติ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ หลังการทดลองพบว่ากลุ่มที่ไม่กินพริกมีระดับไขมันคอเลสเตอรอลทั้งหมด ไขมันเลว และไขมันดีสูงขึ้น แต่ในกลุ่มที่กินพริกมีระดับไขมันทั้งหมดและไขมันเลวไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไขมันดีสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ระบุว่า สาร Capsaicin สามารถลดการสร้างไขมันในร่างกายได้อีกด้วย
ที่มา : http://www.thaichef.in.th/mobile/article_herbdetail.php?aid=1
http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9